หน้าเว็บ

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564

การยึดรถ ผิดหรือไม่



ข้อ ๙.๑ ได้กำหนดเอาไว้ว่า
"#กรณีไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถ ต้องตรวจสอบเลขหมายเครื่องยนต์ เลขหมายตัวถังรถ แล้วแจ้งหมายเลขดังกล่าวพร้อมชื่อ ชนิดรถ (แบบ/รุ่น/ปีที่ผลิต) ชื่อเครื่องยนต์ เพื่อตรวจสอบไปยัง "
๙.๑.๑ กรมการขนส่งทางบก
๙.๑.๒ บริษัทตัวแทนจำหน่าย
๙.๑.๓ บริษัทผู้ผลิต
๙.๑.๔ กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๙.๑.๕ ศูนย์ประมวลข่าวสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ฉะนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงประการแรกก่อนเสมอคือ จะต้องมีกฎหมายกำหนดเอาไว้ให้ทำการยึดรถคันดังกล่าวนั้นก่อนว่าสามารถที่จะยึดได้หรือไม่
ต่อมาถ้ารถคันดังกล่าวนั้นไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถแล้ว ระเบียบดังกล่าวได้กำหนดขั้นตอนต่อไปว่าให้ตรวจหมายเลขเครื่องยนต์ หรือหมายเลขชัชซีส ของรถคันดังกล่าวนั้น โดยตรวจกับ กรมการขนส่ง บริษัทตัวแทน บริษัทผู้ผลิต กองประวัติอาชญากรรม หรือ ศูนย์ประมวลข่าวสาร ของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งการนำหมายเลขเครื่อง หรือหมายเลขชัชซีส ก็สามารถนำเอาจากตัวรถ ณ จุดตรวจ ปัจจุบันยุค Thailand 4.0 แล้ว การตรวจเช็ตกับหน่วยงานที่กล่าวมานั้นได้โดยทันที่ ไม่ว่าจะโดย โทรศัพท์ , ไลน์ , Application อื่นๆ ก็สามารถรู้ได้ทันที หาจำต้องยึดรถเอาไว้ แล้วนำรถไปตรวจสอบที่โรงพักก็หาไม่
การยึดรถไปนั้นโดยกล่าวอ้างว่า "สงสัยจะเป็นรถลักขโมย" จะต้องมีพยานหลักฐานตามสมควรว่ารถนั้นเป็นรถ ได้มา ได้ใช้ หรือ มีไว้ เป็นความผิด หรือจะใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการกระทำผิด และขณะทำการยึดรถจากผู้ใดนั้น จะต้องมีการตั้งข้อกล่าวหาให้แก่ "ผู้นั้น" ในฐานความผิดในการที่จะยึดรถนั้นด้วย เช่น #ลักทรัพย์ หรือ #รับของโจร
แต่ที่ปฎิบัติกันมานั้นทำการยึดรถไว้ แต่ตั้งข้อหา ไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถ ไม่มีป้ายวงกลม ไม่มีใบขับขี่ หรือ ข้อหาดัดแปลงสภาพสภาพรถก็ดีนั้น ซึ่งความผิดฐานต่างๆเหล่านี้นั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงกับยึดรถไปไว้ที่สถานีตำรวจเลย แต่เป็นความผิดที่จะต้องออกใบสั่งตาม พรบ. จราจร เท่านั้น
การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการยึดรถของผู้ครอบครองรถในขณะนั้นๆในลักษณะตัดสิทธิการครอบครองรถของผู้นั้นไป เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ หลายบทหลายมาตรา ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานที่เป็นคุณแก่ผู้ครอบครองหรือผู้เป็นเจ้าของ เช่น
มาตรา ๑๓๖๗ บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง
มาตรา ๑๓๖๙ บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นยึดถือเพื่อตน
มาตรา ๑๓๗๐ ผู้ครอบครองนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าครอบครอง โดยสุจริต โดยความสงบและโดยเปิดเผย
มาตรา ๑๓๗๒ สิทธิซึ่งผู้ครอบครองใช้ในทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสิทธิซึ่งผู้ครอบครองมีตามกฎหมาย
มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิ ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และ มีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วย กฎหมาย
ฉะนั้นผู้ครอบครองหรือผู้เป็นเจ้าของรถในขณะขับขี่นั้นมีกฎหมายสันนิษฐานให้เป็นคุณกำหนดเอาไว้แล้ว ผู้ใดโต้แย้งหรือกล่าวหาเป็นอย่างอื่น ผู้นั้นมีหน้าที่พิสูจน์
ซึ่งปัจจุบันนี้มีการปฎิบัติที่กลับหัวกลับหางกัน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการยึดรถเอาไว้ก่อนโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาอันเกี่ยวเนื่องกับข้อหา "ลักทรัพย์" หรือ "รับของโจร" แต่ตั้งข้อหาอันเกี่ยวกับ พรบ จราจร หรือ พรบ รถยนต์ ที่ไม่ได้ให้อำนาจทำการยึดรถเอาไว้ แถมให้ผู้ถูกกล่าวมีหน้าที่ไปหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์สิทธิในการครอบครอบ หรือ กรรมสิทธิในตัวรถของตนเองอีกด้วย
ซึ่งเป็นการยึดรถเอาไว้โดยปราศจากอำนาจตามกฎหมายให้กระทำได้ครับ
#ข้อสังเกตุ ทำไมจึงทำการยึดแต่รถจักรยานยนต์ แล้วรถยนต์ทำไมไม่ยึดในลักษณะเดียวกัน และเมื่อจ่ายค่าปรับแล้วทำไมจึงสามารถนำรถออกมาได้ทั้งๆ สิ่งที่กล่าวหานั้นก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น