หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2565

การตรวจหาสารเสพติดในร่างกายบุคคล

 

การตรวจหาสารเสพติดในร่างกายบุคคลนั้นจะต้องตรวจ โดยใช้กฎหมายแม่บทอันเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้มีกฎหมายลูก อันได้แก่
๑. พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ มาตรา ๑๑/๒ ววรคสอง อนุญาตให้คณะกรรมการ ปปส. สามารถไปออกประกาศ กำหนดวิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา
๒. ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๑๕ (๓) วรรคสองและวรรคสาม อนุญาตให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหาสารเสพติดในร่างกาบบุคคลอื่นได้
ซึ่งทั้งประกาศคณะกรรมการ ปปส. และกฎกระทรวงยุติ อันเป็นกฎหมายแม่บทได้กำหนดการตรวจหาสารเสพติดไว้ว่า
"ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติดในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะ"
ไม่ใช่ "เหตุอันควรสงสัย" ซึ่งเหตุอันควรสงสัย กับ เหตุอันควรเชื่อ นั้นน้ำหนักในการชั่งพยานหลักฐานมีความแตกต่างกันพอสมควร....
.
ต่อมาเมื่อ มีการตรวจเบื้องต้นแล้ว พบว่าฉี่ม่วง ถ้าผู้ถูกตรวจสมัครใจเข้ารับการบำบัด ก็ให้ส่งตัวไปยังสถานพยาบาลหรือศูนย์คัดกรองยาเสพติด โดยไม่ต้องส่งตัวอย่างฉี่ไปยังสถานตรวจพิสูจน์.....
.
แต่ถ้าผู้ถูกตรวจพบว่าฉี่ม่วง ปฎิเสธว่าไม่ได้เสพ หรือปฎิเสธไม่รับการบำบัด จะต้องจดชื่อที่อยู่พร้อมเก็บรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆส่งพนักงานสอบสวน ส่วนตัวผู้ต้องสงสัยให้ปล่อยตัวไปก่อนจนกว่าผลตรวจยืนยันจากศูนย์วิทย์จะออกมาว่า "มีสารเสพติดเกินปริมาณกว่าที่กฎหมายกำหนด" จึงให้ออกหมายเรียกตัวให้มีรับทราบข้อกล่าวหาต่อไป จะดำเนินการควบคุมตัวก่อนที่ผลตรวจจากศูนย์วิทย์จะออกมิได้....
.
นี้คือหลักเกณฑ์การตรวจทั้งจาก คณะกรรมการ ปปส. ตาม วิเสพติด ม ๑๑/๒วรรคสอง และกฎกระทรวงยุติธรรม ตาม ปเสพติด ม ๑๑๕ วรรคสองและวรรคสาม ที่สอดคล้องต้องกัน