หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

การคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์มือถือ

 

“การคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์มือถือ..”
หลายคนถามว่า.. ถ้าเราลบภาพถ่าย คลิปเสียง ข้อความที่อยู่ในเครื่องโทรศัพท์มือถือแล้ว ล้างถังขยะไปแล้ว.. จะกู้คืนกลับมาได้มั้ย..
คำตอบคือ.. ได้ครับ..
สำหรับเจ้าของข้อมูล หรือคนอื่นที่รู้รหัสผ่าน.. และถ้ามีการสำรองข้อมูลไว้ในระบบ cloud.. ก็กู้ดึงกลับมาได้.. ทำเองได้ที่บ้าน หรือให้ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ทำให้..
สำหรับช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือ หรือคนมีความรู้ ถ้าไม่ได้สำรองไว้.. ก็ดาวน์โหลดแอพ โปรแกรมสำหรับกู้ข้อมูลที่อยู่ในอินเตอร์เนตมาใช้ได้..
แต่ข้อมูลเชิงลึก เช่น ที่ได้ ฟอร์แมทเครื่องแล้ว หรือซ้อนทับหลายชั้น หรือซ่อนปิดบังไว้ หรือเสียงพูดคุยโทรศัพท์ที่เครื่องหรือระบบบันทึกไว้เอง..
คนทั่วไปอาจกู้คืนโดยใช้แอพที่หาได้ง่ายเหล่านั้น ไม่ได้..
เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจชุดปราบปรามความผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี.. ฝ่ายสืบสวนกลาง..
ตำรวจฝ่ายพิสูจน์หลักฐาน.. ปปส. ดีเอสไอ.. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์.. หรือสถาบันการศึกษาที่สอนวิศวะคอมพิวเตอร์..
จะมีแอพ หรือโปรแกรมที่หาซื้อตามท้องตลาดไม่ได้..
เป็นเครื่องมือตรวจสอบข้อมูล และกู้คืนข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะ..
มีชื่อทางการค้า ที่นิยม คือ Cellebrite, XRY, Encase, FTK
มีทั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับต่อเข้ากับฮาร์ดิส หรือระบบของเครื่องเป้าหมาย..
มีทั้ง อยู่ในรูปแบบของกระเป๋าหิ้ว สะดวกในการพกพาเอาไปใช้นอกสถานที่ เพียงแค่เสียบสายสัญญานเชื่อมต่อกัน..
สามารถเปิดเผยข้อมูลที่เจ้าของแอบซ่อนอยู่... เช่น ไฟล์ภาพ..
ดึงข้อมูลที่ระบบบันทึกเก็บไว้โดยเจ้าของไม่รู้ ออกมาได้.. เช่น เสียงคุยโทรศัพท์..
กู้ข้อมูลที่ลบ หรือล้างออกจากเครื่องไปแล้ว ขึ้นมาดูใหม่ได้..
อย่าถามผมนะครับว่า.. จะหาแอพ หรือเครื่องมือเหล่านี้ได้เองจากไหน.. ขอให้ตำรวจเขากู้ให้ได้ไหม..
ผมไม่ขอตอบ และไม่ทราบครับ ผมแค่มาให้ข้อมูลความรู้แก่สังคมเท่านั้น..
ปัจจุบัน ในการขอตรวจข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ..
ทางปฏิบัติ ตำรวจจะให้เจ้าของเครื่อง ลงนามยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลในเครื่อง และสมัครใจมอบเครื่องไว้ให้ตำรวจเอาไปตรวจสอบ..
เทียบได้กับ ความยินยอมให้ค้นบ้าน.. ความยินยอมให้ค้นตัว.. ความยินยอมเป่าตรวจแอลกอฮอล์.. ความยินยอมให้ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด..
เจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิร้องขอความยินยอมเหล่านั้นได้..
แต่ผู้ถูกขอตรวจ ก็มีสิทธิจะให้ความยินยอม หรือไม่ยอมให้ ก็ได้..
ถ้ายินยอมให้โดยบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้ถูกข่มขู่ หรือหลอกลวง หรือให้สัญญาใดๆ.. ตำรวจก็มีสิทธิตรวจค้นได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นจากศาล..
และตรวจลมหายใจ และปัสสาวะได้ โดยไม่ต้องมีเหตุผลใดๆ..
ข้อมูลที่ได้ ก็เป็นพยานหลักฐานที่ศาลจะรับฟังลงโทษจำเลยในคดีได้..
แต่ถ้าให้ความยินยอมแบบมีขอบเขตของเวลา และสถานที่.. อำนาจของตำรวจผู้ค้น ก็มีเพียงนั้น..
เช่น ยอมให้ค้นบ้านได้ 15 นาที..
ยอมให้ค้นบ้านได้หมด ยกเว้นห้องนอน..
ยอมให้ค้นกระเป๋ากางเกงได้ แต่ไม่ให้ค้นกระเป๋าถือ..
ยอมให้ตำรวจเข้าค้นได้แต่ 2 คน..
ยอมเป่า แต่ต้องเป็นเครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน..
ยอมให้ตัวอย่างปัสสาวะได้แค่ครึ่งหลอด..
ความยินยอมนั้น.. ยอมแล้ว ก็ยกเลิกได้ เปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา..
ถ้าเขาไม่ให้ความยินยอม.. จะบังคับได้ ตำรวจต้องมีเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด เช่น..
จะค้นบ้าน ต้องมีหมายค้น..
จะค้นตัว ต้องความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุอันควรสงสัย..
จะตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ ต้องมีเหตุจำเป็น และเหตุอันควรเชื่อว่าเขาเสพยา..
การลงนามยินยอมให้เข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้..
ปกติแล้ว.. เจ้าหน้าที่จะยึดโทรศัพท์มือถือในบ้านได้ ต้องมีหมายค้น.. จะยึดโทรศัพท์มือถือที่อยู่นอกบ้าน ก็มักเป็นเรื่องจับกุมในความผิดซึ่งหน้า..
นี้เป็นขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐานหรือสืบสวนในเบื้องต้น.. เพื่อยึดไว้เป็นของกลาง..
เมื่อได้ “เครื่องโทรศัพท์มือถือ” มาโดยชอบ ยึดมาเป็นของกลางแล้ว..
ถ้าจำเป็นต้องใช้แอพ หรือเครื่องมือพิเศษเพื่อจะเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ซ่อน หรือถูกลบไปแล้ว เพื่อการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน..
เช่น คลิปเสียงสนทนา.. หรือภาพถ่าย..
ก็ต้องประสานงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพรบ. คอมพิวเตอร์ ขออนุญาตศาลเพื่อเข้าถึงข้อมูลนั้นก่อน..
ถ้าศาลอนุญาต จนได้ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมาโดยชอบแล้ว.. ก็ยึด “ข้อมูล” นั้นไว้เป็นของกลางได้อีก..
ในกรณีที่ ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นสามารถใช้ยืนยันความผิดได้อย่างชัดเจน เช่น ภาพถ่ายจากกล้อง cctv ก็รวบรวมส่งให้อัยการเพื่อฟ้องคดี..
แต่ถ้าจำเป็นต้องพิสูจน์หลักฐานก่อน เช่น ตรวจพิสูจน์ว่า ข้อมูลเสียงของกลาง เป็นเสียงของจำเลยหรือไม่..
หรือต้องตรวจภาพถ่ายของกลาง ว่ามีการตัดต่อหรือไม่..
พนักงานสอบสวน มีอำนาจส่งให้ตำรวจฝ่ายพิสูจน์หลักฐาน ช่วยตรวจพิสูจน์ของกลางได้เอง โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลในการเข้าถึงข้อมูลอีก..
อยากให้เข้าใจตรงกันว่า.. ขั้นตอนการขอหมายค้นเพื่อยึดเครื่องโทรศัพท์มือถือมาเป็นของกลางนั้น..
เป็นคนละขั้นตอน กับการขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลในเครื่องโทรศัพท์ของกลางนั้น..
และเป็นคนละเรื่อง กับการส่งข้อมูลในเครื่องที่ยึดไว้เป็นของกลางนั้น ไปตรวจพิสูจน์หลักฐาน..
เพราะปัจจุบัน เจ้าหน้าที่บางคนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า.. ทั้งหมดเป็นขั้นตอนเดียวกัน..
ถ้าขอหมายค้น จนยึดได้เครื่องโทรศัพท์มาแล้ว.. หรือจับความผิดซึ่งหน้ายึดเครื่องที่ใช้ทำผิดมาได้แล้ว ก็ใช้แอพพิเศษในการเข้าถึงข้อมูลภายในได้เลย ไม่ต้องขออนุญาตศาลอีก..
หรือเข้าใจผิดไปว่า การเข้าถึงข้อมูลในเครื่องนั้น เป็นเรื่องการตรวจพิสูจน์หลักฐานที่ไม่ต้องขออนุญาตศาล..
เข้าใจนะครับว่า.. เราใช้กฎหมายปวิอ. เรื่องการค้นเพื่อยึดสิ่งของกันมานาน.. จนไม่เข้าใจหลักในพรบ. คอมพิวเตอร์ที่ออกมาใหม่..
ทุกวันนี้ เทคโนโลยีเปลี่ยนไป มีโทรศัพท์มือถือ ข้างในมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก.. ไม่ต่างจากสิ่งของมากมายที่อยู่ในบ้าน..
มีสิทธิความเป็นส่วนตัวที่กฎหมายคุ้มครอง.. พรบ คอมฯที่ออกมา จึงเป็นบทเฉพาะในการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่กฎหมายบังคับให้ต้องขออนุญาตศาลก่อน..
เป็นหลักกฎหมายเพื่อการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน..
เป็นหลัก due process of law เป็นหลัก rule of law และเป็นหลัก นิติธรรม.. ที่เราควรต้องเคารพครับ..
ท่องไว้เลยครับ..
“จะยึดเครื่อง.. ให้ขอหมายค้น.. แต่ถ้าจะยึดข้อมูลในเครื่อง.. ต้องขออนุญาตศาลครับ..”
ด้วยความรักและห่วงใย..

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ตำรวจที่มาตั้งจุดตรวจ มีหนังสือการขออนุญาตหรือไม่

 ❌พรบ. ทางหลวง 2535 มาตรา 38 มาตรา 39 และบทกำหนดโทษ มาตรา 72 มีหลักว่า ห้ามนำสิ่งใดมาวางขวางหรือวางบนทางหลวง หรือกระทำด้วยประการใดๆ บนทางหลวงในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

❌นอกจากนั้น ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่ห้ามวางของบนถนนอีก ซึ่งมีโทษทางอาญาเช่นเดียวกัน เช่น พรบ จราจรทางบก 2522 มาตรา 114 ที่มีหลักว่า ห้ามวางสิ่งใด หรือกระทำด้วยประการใดๆ ที่เป็นการกีดขวางทางจราจร เว้นแต่ได้รับอนุญาต ซึ่งตามมาตรา 148 หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

.

❌พรบ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 มาตรา 19 มาตรา 57 มีหลักว่า ห้ามวางวัตถุใดๆ บนถนน หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 10,000 บาท

.

❌ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 ผู้ใดกีดขวางทางสาธารณะจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวางหรือทอดทิ้งสิ่งของหรือกระทำด้วยประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

❌ การขออนุญาต จาก ผอ.กรมทางหลวง ก็ต้องเป็นไปด้วยเหตุอันจำเป็นอย่างยิ่ง 

ส่วนการตั้งจุดตรวจเพื่อกรวดขันวินัยจราจร ตั้งทุกวัน วันละสองรอบ นั้น มันเป็นเหตุจำเป็นอย่างไร ไม่ทราบ