หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำพิพากษาศาลฎีกา เลขที่ 8619/2552

 “ คำพิพากษาศาลฎีกา เลขที่ 8619/2552 จำเลยอ้างว่า “ จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาของจำเลย ให้ทำหน้าที่สายตรวจตำบลเขตตรวจที่ 1 และมอบหมายหน้าที่ในการเบิกอาวุธปืน ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิที่จะพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในขณะปฏิบัติหน้าที่ และการที่จำเลยแวะรับประทานอาหารที่ร้านอาหารเกิดเหตุ ก็เป็นเหตุต่อเนื่องจากปฏิบัติตามหน้าที่นั้น ” ศาลฎีกาเห็นว่า แม้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่จำเลยพาติดตัวไป จำเลยจะเบิกมาถูกต้องตามระเบียบของทางราชการก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีเหตุอันสมควรที่จะพกพาอาวุธปืนติดตัวเข้าไปในร้านอาหารที่เกิดเหตุ ซึ่งไม่ได้อยู่ในระหว่างเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งนอกจากนี้ยังอยู่นอกท้องที่ที่จำเลยรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว และไม่ได้อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ”

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565

#นั่งแค็บได้ #ไม่คาดเข็มขัด #ไม่ผิดกฎหมาย

 

รถกระบะแค็บ ไม่ใช่รถยนต์นั้งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ตามกฎหมาย
เมื่อไม่ใช่รถยนต์ส่วนบุคคล #ส่วนที่เป็นแค็บ จึง #ไม่ใช่เบาะนั่งสำหรับคน
กฎหมายจึงไม่ได้บังคับให้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในส่วนที่เป็นแค็บ เพราะ #หากนำไปติดตั้งเข็มขัดนิรภัย_ในแค็บ จะเป็นการ #ดัดแปลงสภาพรถยนต์ให้ผิดไปจากการจดทะเบียน ตามมาตรา 21
แต่ มาตรา 21 บัญญัติว่า...
มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ #เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1)......
(2)......
(3).......
(3/1)การใช้ #รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ําหนักรถไม่เกินสองพันสองร้อยกิโลกรัมเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธืบดีกำหนด
... 🚨 จากมาตรา 21 (3/1) กฎหมายให้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ใช้แทนรถยนต์สาวนบุคคลได้
หมายความว่า สามารถนั่งแค็บแทนรถกระบะได้ เสมือนนั่งเบาะหลังรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
#แม้แค็บรถกระบะ จะนั่งได้ #แต่ก็ไม่ถือว่า เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล #ที่จะต้องติดตั้ง_เข็มขัดนิรภัย เพราะหาก ติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ก็เป็นการดัดแปลงสภาพ ที่แตกต่างไปจากที่จดทะเบียนไว้ ตามมาตรา 21 นั้นเอง
✌ เพราะว่า กระบะ ส่วนแค็บไม่สามารถติดตั้งเข็มขัดฯได้
หากติดตั้งจะเป็นความผิดตามกฎหมายฐาน ดัดแปลงสภาพให้แตกต่างไปจากที่จดทะเบียนไว้ ตามมาตรา 21

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ไม่มีคำว่าประมาทร่วมในกฎหมาย

 

หนุ่มไรเดอร์งง ถูกโดนชน กลับถูกแจ้งข้อหาประมาทร่วม..?
#การประมาทร่วม ไม่มีในบทบัญญัติทางกฎหมายในคดีอาญา #ไม่มีคำว่าประมาทร่วมในกฎหมาย” มีแต่ต่างฝ่ายต่างประมาท เพราะความผิดฐานประมาท
#ไม่อาจจะกระทำความผิดร่วมกันได้ แต่ในเหตุการณ์เดียวกัน อาจจะมีคนที่ประมาทหลายคนได้ แต่ก็ไม่ถือว่าร่วมกันประมาท คงถือว่าต่างฝ่ายต่างประมาทกันไป ซึ่งต้องวินิจฉัยให้ชัดว่า " ฝ่ายใดประมาท หรือ ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” สิ่งที่ถูกต้องก็คือต้องดูว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายประมาทมากกว่ากัน และต้องรับผิดชอบมากน้อยตามความประมาท ที่ทำให้เกิดความเสียหาย
การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร หรือทำผิดกฎจราจร กับ ประมาทนั้น #เป็นคนละส่วนกัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร หรือทำผิดกฎจราจรนั้น ยังไม่อาจจะสรุปได้ว่าผู้นั้น เป็นผู้ที่ประมาท เช่นลำพังแต่การที่ขับรถยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ #แม้จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายจราจรก็ตาม แต่จะถือว่าเขาประมาทไม่ได้
(เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๒๐๖/๒๕๕๐)
#ตัวอย่างเช่น นายแดง ขี่รถจักรยานยนต์ คร่อมเลน แต่ก็ขี่ด้วยความระมัดระวัง #แต่ปรากฏว่า นายฟ้า ขี่รถจักรยานยนต์มาจากทางด้านหลังด้วยความเร็ว แล้วชนท้ายรถจักรยานยนต์ของนายแดง กรณีนี้จะเห็นว่า แม้นายแดง จะทำผิดกฎจราจร #แต่การชนกันก็ไม่ได้เกิดจากการทำผิดกฎจราจรของนายแดง แต่เกิดจากการกระทำของนายฟ้า ที่ขี่รถจักรยานยนต์มาด้วยความเร็ว และไม่ระวังรถคันที่อยู่ข้างหน้า จนชนรถของนายแดง ในกรณีเช่นนี้ ต้องถือว่า #นายฟ้าเป็นฝ่ายประมาทแต่เพียงฝ่ายเดียว นายแดงไม่ได้เป็นผู้ประมาทด้วย
(เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๓๘๖/๒๕๔๔ วินิจฉัยว่า)
เครดิต:คดีโลกคดีธรรม