หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กรณีถูกพนักงานจราจรตรวจจับในข้อหาไม่สวมหมวก ไม่มีใบขับขี่ และไม่พกคู่มือจดทะเบียนรถ

#กรณีถูกพนักงานจราจรตรวจจับในข้อหาไม่สวมหมวก ไม่มีใบขับขี่ และไม่พกคู่มือจดทะเบียนรถ พนักงานจราจรมีอำนาจเพียงออกใบสั่งและห้ามขับต่อ แต่ไม่มีอำนาจในการกักหรือยึดรถไปสถานีตำรวจ ให้ผู้ขับหาหมวก และคนที่มีใบอนุญาตมาขับกลับได้เลย หากพนักงานจราจรยังยืนยันยึดรถ ให้อ้างคำสั่งทางกรมตำรวจที่เคยวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนนี้ ให้พนักงานจราจรคนดังกล่าวทราบ เพื่อขอรถคืน แต่หากยังยืนยันจะยึดก็สามารถเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานจราจรคนดังกล่าวได้เช่นกันครับ. อยากให้ช่วยเผยแพร่คำสั่งนี้ และปริ๊นติดรถไว้ ลูกหลานจะได้ไม่เดือนร้อนไม่มีรถใช้กัน. ขอบคุณครับ./

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การขอตรวจฉี่ ใช่ว่าตำรวจจะขอตรวจได้ทุกคนทุกที่ ทำได้เฉพาะคนที่มีอำนาจหน้าที่เท่านั้น

ทนายเกิดผล แก้วเกิดติดตาม

🔥#การตรวจหาสารเสพติด 📣 #ฉี่ม่วงไม่ติดคุกทันที ⤵️⤵️⤵️
📣#ต้องตรวจยืนยันให้ชัดเจน📣🔥🔥🔥

การขอตรวจฉี่ ใช่ว่าตำรวจจะขอตรวจได้ทุกคนทุกที่ ทำได้เฉพาะคนที่มีอำนาจหน้าที่เท่านั้น

🎯และที่สำคัญ #แม้การทดสอบเบื้องต้นจะพบสารเสพติด หรือ #ผลเป็นบวก ก็ตาม

#ห้ามเจ้าพนักงานตำรวจ_ดำเนินคดี_หรือจับกุมทันที

#ตำรวจต้องปล่อยตัวไปก่อน #โดยทำได้เพียงจดที่อยู่เพื่อเรียกหรือออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหา ภายหลังที่ #ตำรวจต้องส่งปัสสาวะ_หรือเส้นผมไปตรวจที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ยืนยันผลซ้ำอีกครั้ง ว่า มีสารเสพติดจริง (อ้างอิงข้อ 8)

 และต้องได้ปริมาณสารเสพติดตามเกณฑ์ที่กำหนดด้วย เช่น ⤵️⤵️⤵️

🚀ไอซ์ หรือยาบ้า (แมทแอมเฟตามีน) ต้องพบว่าอยู่ในปัสสาวะ​ตั้งแต่ 1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป หรือถ้าตรวจโดยใช้เส้นผมก็ต้องมี 0.2 นาโนกรัม/มิลลิกรัม ขึ้นไป จึงจะถือว่าเสพยา 
🗼 ฯลฯ🗼

#ดังนั้นหากถูกจับกุมตรวจฉี่เป็นสีม่วง ยังไม่สามารถสามารถดำเนินคดีได้ ต้องตรวจยืนยันโดยแพทย์ทางโรงพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเท่านั้น📣📣📣📣

🔥🔥หากถูกกระทำโดยไม่ถูกต้องปรึกษาทนายด่วน👨‍⚖️ ก่อนจะสาย ติดคุกไปก่อน👨‍⚖️👨‍⚖️👨‍⚖️

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ห้ามถ่ายรูป ห้ามยึดบัตร ไม่ใช่ตำรวจทุกคนที่จะขอดูบัตรประชาชนได้

🙅🏼‍♀️🙅🏽ห้ามถ่ายรูป ห้ามยึดบัตร ไม่ใช่ตำรวจทุกคนที่จะขอดูบัตรประชาชนได้
.
ปัญหาหนึ่งที่ทำให้สงสัยกันว่า เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาขอตรวจบัตรประชาชนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำได้หรือไม่?
.
+++ กฎหมายบังคับให้พกบัตรประชาชน
.
ในเรื่องบัตรประชาชนมีกฎหมายที่กำหนดไว้คือ พระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ซึ่งมาตรา 5 กำหนดให้ ผู้มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 7 ปี บริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปี บริบูรณ์ และมีชื่ออาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรประชาชนตามที่กําหนดในกฎหมายนี้
.
ซึ่งในมาตรา 17 ของกฎหมายดังกล่าว กำหนดไว้ว่า "ผู้ถือบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป
ผู้ใดไม่สามารถแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท"
.
หมายความว่า ผู้ที่ถือบัตรประจำตัว อายุ 15 ปี ขึ้นไป มีหน้าที่ต้องพกบัตรประชาชนติดไว้กับตัว และแสดงบัตรประจำตัวกับเจ้าพนักงานตรวจบัตร เมื่อถูกขอตรวจ ไม่เช่นนั้นจะมีโทษปรับ 200 บาท ซึ่งถือว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของ "เจ้าพนักงานตรวจบัตร" ที่สามารถขอตรวจได้ตามกฎหมาย (กรณีที่เด็กอายุ 7 ปี สามารถทำบัตรประชาชนได้ เป็นการให้ทำไว้ก่อน แต่ไม่ได้บังคับให้พกติดตัวตามกฎหมายฉบับนี้)
.
*ซึ่งโทษปรับที่มีกำหนดไว้ 200 บาท นั้น มีการแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นมาเมื่อปี 2542 โดยเหตุผลการแก้ไขให้มีโทษปรับ 200 บาท คือ ความผิดเกี่ยวกับบัตรประชาชน กระทบความมั่นคง จึงแก้โทษให้หนักขึ้น
.
+++ "เจ้าพนักงานตรวจบัตร" นอกด่านตรวจ ต้องเป็นตำรวจยศร้อยตรีขึ้นไปเท่านั้น +++
.
เมื่อกฎหมายกำหนดให้ "เจ้าพนักงานตรวจบัตร" สามารถตรวจการพกบัตรประจำตัวประชาชนได้ แต่กฎหมายที่กำหนดว่าใครคือ "เจ้าพนักงานตรวจบัตร" บ้าง มีกำหนดไว้อยู่ใน คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 1496/2561 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานตรวจบัตร
.
ซึ่งกำหนดให้ "เจ้าพนักงานตรวจบัตร" ได้แก่
1. ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่นายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป เป็นเจ้าพนักงานตรวจบัตรภายในเขตอำนาจหน้าที่
.
2. ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน และเจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ตามด่านตรวจที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าพนักงานตรวจบัตร เฉพาะในด่านตรวจนั้น
.
3. ในเขตของกรุงเทพมหานคร ให้ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต หัวหน้าฝ่ายทะเบียน หัวหน้าฝ่ายปกครอง หัวหน้าฝ่ายเทศกิจ เจ้าพนักงานปกครอง และเจ้าพนักงานเทศกิจ เป็นเจ้าพนักงานตรวจบัตร เฉพาะในเขตนั้น
.
4. ให้ปลัดเมืองพัทยา รองปลัดเมืองพัทยา หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา หัวหน้าฝ่ายทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน หัวหน้าฝ่ายป้องกันและรักษาความสงบ นักจัดการงานทะเบียนและบัตร และนักจัดการงานเทศกิจ เป็นเจ้าพนักงานตรวจบัตร เฉพาะในเมืองพัทยา
.
5. ให้ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการกองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน หัวหน้าฝ่ายทะเบียนราษฎร หัวหน้าฝ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หัวหน้าฝ่ายทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน หัวหน้าฝ่ายปกครอง หัวหน้าฝ่ายป้องกันและรักษาความสงบ นักจัดการงานเทศกิจ นักจัดการงานทะเบียนและบัตร และหัวหน้าฝ่ายและข้าราชการตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไปหรือเทียบเท่าซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎรหรือบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเจ้าพนักงานตรวจบัตรในเทศบาลนั้น
.
ซึ่งหมายความว่าตามข้อ 1. "เจ้าพนักงานตรวจบัตร" ที่เป็นตำรวจสามารถขอตรวจบัตรประชาชนในพื้นที่ทั่วไปได้ ต้องเป็นตำรวจยศตั้งแต่ ร้อยตำรวจตรี ขึ้นไป เท่านั้น ส่วนตำรวจชั้นประทวนจะขอดูบัตรประชาชนได้ต้องอยู่ที่ด่านตรวจที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
.
เพราะฉะนั้นหากถูกขอตรวจบัตรประชาชน เราสามารถขอดูบัตรประจำตัวตำรวจว่าเป็นตำรวจจริงหรือไม่ และมียศระดับร้อยตำรวจตรีขึ้นไปหรือไม่ โดยเฉพาะตำรวจนอกเครื่องแบบ
.
+++ กฎหมายให้อำนาจหน้าที่ตำรวจตรวจการพกบัตรประชาชนเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจถ่ายรูปบัตรประชาชน +++
.
จากที่กล่าวมาข้างต้น กฎหมายได้ให้อำนาจ "เจ้าพนักงานตรวจบัตร" หรือตำรวจ ในการตรวจการพกบัตร เพื่อให้ประชาชนแสดงบัตรประชาชนว่าพกมากับตัวหรือไม่เท่านั้น
.
แต่กฎหมายดังกล่าวไม่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ ให้ตำรวจสามารถจะถ่ายรูปบัตรประชาชน หรือขอยึดบัตรประชาชนไว้กับตัวของตำรวจได้เลย เนื่องจากบัตรประชาชนของเราถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของเราทั้งใบ การใช้สำเนาบัตรประชาชนยังต้องมีการเซ็นต์รับรองสำเนา
.
เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจตำรวจในส่วนนี้ไว้ ก็ไม่สามารถทำได้ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หากพบเห็นการกระทำอย่างนั้นสามารถถามตำรวจได้เลยว่าเขาใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายข้อใด ในการถ่ายรูปบัตรประชาชน หรือยึดบัตรประชาชนของเราไป
.
และถึงแม้ตำรวจจะตรวจบัตรได้แต่ก็ไม่ควรจะกระทำเกินสมควรเกินกว่าเหตุ จนกระทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมในการใช้เสรีภาพในการชุมนุมนั้น
.
.
๐ พระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน พ.ศ. 2526 : http://www.krisdika.go.th/librarian/get…
๐ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 1496/2561: http://www.krisdika.go.th/librarian/get…
อ่านทั้งหมดได้ใน: https://freedom.ilaw.or.th/node/799

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ตำรวจไม่มีบัตรแบบ ป.2 ไม่มีอำนาจตรวจปัสสาวะ!!

อานนท์ เชื้อสัตตบงกชติดตาม
 #ย้ำคำสั่งกันชัดๆ!! ตำรวจไม่มีบัตรแบบ ป.2 ไม่มีอำนาจตรวจปัสสาวะ!!
#ทุกวันนี้หลายๆเหตุการณ์ พบว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการออกไปทำการตรวจปัสสาวะชาวบ้าน ทั้งตามด่านตรวจ และตระเวนไล่ตรวจตามบ้าน โดยยังมีการแอบอ้างอำนาจต่างๆในการขอตรวจไปต่างๆนานา และเมื่อตรวจพบผลเสพ ยังมีการเรียกรับผลประโยชน์เพื่อไม่ดำเนินคดีอีก ดังนั้นเพื่อเกิดความชัดเจน ของอำนาจการตรวจของตำรวจ และป้องเพื่อกันการนำมาแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบ ทางทนายจึงขอนำหนังสือหารือ และคำวินิจฉัยของผู้บัญชาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่องอำนาจของตำรวจ ในการตรวจปัสสาวะ มาให้วิเคราะห์กัน ต่อไปหากไปเจอบังคับตรวจ จะได้อ้างคำสั่งฉบับนี้ได้ทัน ทีนี้เจ้าหน้าที่จะบอกไม่รู้ไม่ได้แล้วครับ!!!
#อ้างถึงหนังสือ ผบช.ปส. ที่ 0023.412/186 ถึง ผบ.ตร. ชี้แจงปัญหา กรณีการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายราษฎร เนื่องจากไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายราษฎรได้ ดังนั้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไปสามารถทำการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดได้ ทาง ผบช.ปส.จึงชี้แนะให้ ผบ. ตร. ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด มอบหมายอำนาจให้แก่ ผบช. (ผู้บัญชาการ) หรือ ผบก. (ผู้บังคับการ) หน่วยปฎิบัติ เพื่อให้มีอำนาจพิจารณาออกเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่จะทำหน้าที่ตรวจปัสสาวะประชาชนต่อไป โดยในการนี้ ทาง บช.ปส. จะดำเนินการจัดพิมพ์แบบ ป.2 แจกจ่ายให้หน่วยงานทางตำรวจต่อไป/
#เห็นคำสั่งนี้แล้วต่อไปอย่าพลาดนะครับ เดี๋ยวชาวบ้านเขาจะสอนมวยเอา!!!#ย้ำคำสั่งกันชัดๆ!!! ตำรวจไม่มีบัตร ป.2 ไม่มีอำนาจตรวจปัสสาวะ!!
#ทุกวันนี้หลายๆเหตุการณ์ พบว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการออกไปทำการตรวจปัสสาวะชาวบ้าน ทั้งตามด่านตรวจ และตระเวนไล่ตรวจตามบ้าน โดยยังมีการแอบอ้างอำนาจต่างๆในการขอตรวจไปต่างๆนานา และเมื่อตรวจพบผลเสพ ยังมีการเรียกรับผลประโยชน์เพื่อไม่ดำเนินคดีอีก ดังนั้นเพื่อเกิดความชัดเจน ของอำนาจการตรวจของตำรวจ และป้องเพื่อกันการนำมาแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบ ทางทนายจึงขอนำหนังสือหารือ และคำวินิจฉัยของผู้บัญชาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่องอำนาจของตำรวจ ในการตรวจปัสสาวะ มาให้วิเคราะห์กัน ต่อไปหากไปเจอบังคับตรวจ จะได้อ้างคำสั่งฉบับนี้ได้ทัน ทีนี้เจ้าหน้าที่จะบอกไม่รู้ไม่ได้แล้วครับ!!!
#อ้างถึงหนังสือ ผบช.ปส. ที่ 0023.412/186 ถึง ผบ.ตร. ชี้แจงปัญหา กรณีการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายราษฎร เนื่องจากไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายราษฎรได้ ดังนั้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไปสามารถทำการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดได้ ทาง ผบช.ปส.จึงชี้แนะให้ ผบ. ตร. ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด มอบหมายอำนาจให้แก่ ผบช. (ผู้บัญชาการ) หรือ ผบก. (ผู้บังคับการ) หน่วยปฎิบัติ เพื่อให้มีอำนาจพิจารณาออกเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่จะทำหน้าที่ตรวจปัสสาวะประชาชนต่อไป โดยในการนี้ ทาง บช.ปส. จะดำเนินการจัดพิมพ์แบบ ป.2 แจกจ่ายให้หน่วยงานทางตำรวจต่อไป/
#เห็นคำสั่งนี้แล้วต่อไปอย่าพลาดนะครับ เดี๋ยวชาวบ้านเขาจะสอนมวยเอา!!!

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

#เกี่ยวกับการตรวจหาสารเสพติด

10.1 ต้องเก็บปัสสาวะปริมาตรเท่าไร
ตอบ: 30-60 มิลลิลิตร
10.2 ระยะเวลาการเก็บรักษาปัสสาวะ
ตอบ: ควรส่งห้องปฏิบัติการภายใน 48 ชั่วโมง ในสภาพแช่เย็น
10.3 อุณหภูมิในการเก็บรักษาปัสสาวะที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร
ตอบ: 4-8 องศาเซลเซียส
10.4 ค่าใช้จ่ายในการตรวจยืนยันผล
ตอบ: ค่าใช้จ่ายการตรวจยืนยันผล 700 บาท/ชนิดสาร โดยไม่ขึ้นกับวิธีวิเคราะห์ (อ้างอิงจากราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนพิเศษ 130ง ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 หน้า 125-136)
10.5 ไอซ์ เป็นสารเสพติดประเภทไหน การออกฤทธิ์ และใช้ชุดทดสอบอะไรในการตรวจพิสูจน์
ตอบ: ไอซ์คือผลึกหรือผงเมทแอมเฟตามีน ที่มีความบริสุทธิ์สูง ที่ใช้สำหรับผลิตยาบ้า ไอซ์ออกฤทธิ์เหมือนยาบ้า และสามารถใช้ชุดทดสอบเมทแอมเฟตามีนในการตรวจปัสสาวะผู้ติด ผู้เสพ
10.6 มีชุดทดสอบสารระเหยในปัสสาวะหรือไม่ สามารถตรวจสารระเหยในปัสสาวะด้วยวิธีใด
ตอบ: ปัจจุบันยังไม่มีชุดทดสอบสารระเหยในปัสสาวะ การตรวจสารระเหยในปัสสาวะสามารถตรวจสารเมตาบอไลต์ของสารระเหยคือสาร Hippuric acid โดยวิธี High Performance Liquid Chromatography หรือ Gas Chromatography/Mass Spectrometry
10.7 ชุดทดสอบแบบแถบ และแบบตลับ เหมือนกันหรือต่างกัน อย่างไร
ตอบ: ชุดทดสอบแบบแถบ และแบบตลับ ใช้หลักการเดียวกัน ต่างกันที่ วัสดุ รูปแบบและวิธีการใช้
10.8 หลังจากเสพเมทแอมเฟตามีนไปแล้วกี่วัน จะยังมีสารเสพติดในปัสสาวะ
ตอบ: จะตรวจพบภายใน 1-3 วันหลังการเสพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคลและความถี่ของการเสพ
10.9 สารเสพติดประเภทยาบ้า จะอยู่ในร่างกายนานเท่าไร
ตอบ: ยาบ้าจะถูกขับออกมา 70% ภายใน 24 ชม. หลังเสพ และมักจะตรวจพบภายใน 1-3 วัน หลัง 7 วันไปแล้ว มักจะตรวจไม่พบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล ความถี่ของการเสพ และอาหารที่รับประทาน เช่น ถ้ารับประทานอาหารที่ทำให้ปัสสาวะเป็นด่างจะทำให้การขับยาออกจากร่างกายช้าลง
10.10 ถ้าชุดทดสอบเกิดแถบสีแดงที่ตำแหน่ง C ชัดมาก แต่แถบสีที่ตำแหน่ง T เลือนลาง ให้อ่านผลอย่างไร
ตอบ: ให้อ่านเป็นผลลบ
10.11 สารเคมีที่ทำให้ตรวจหาสารเสพติดเป็นผลบวกลวง (ไม่ได้เสพยาบ้า แต่ให้ผลบวกกับชุดทดสอบ) มีอะไรบ้าง
ตอบ: สารที่ให้ผลบวกลวงกับชุดทดสอบได้คือ สารที่มีโครงสร้างคล้ายสารเสพติด แต่ปัจจุบันชุดทดสอบมีความจำเพาะเจาะจงสูง ทำให้มีผลบวกลวงน้อยลง แต่ก็ยังพบสารที่อาจให้ผลบวกลวงกับชุดทดสอบ เช่น ยาลดความอ้วน ยาที่ทำให้ไม่ง่วง Ranitidine Pseudoephedrine Dextromethorphan เป็นต้น
10.12 ช่วยยกตัวอย่างว่ารับประทานอะไรบ้างที่จะตรวจพบสารเมทแอมเฟตามีน เพราะบางครั้งเขาจะอ้างว่าดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เช่น กระทิงแดง
ตอบ: สารที่รับประทานหรือเสพแล้ว จะตรวจพบสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ คือ ยาบ้า และไอซ์ สารที่ให้ผลบวกลวงกับชุดทดสอบ ได้แก่สารที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เช่น ยาลดความอ้วน ยาที่ทำให้ไม่ง่วง แต่ในกระทิงแดงไม่มีสารเหล่านี้ การดื่มกระทิงแดงจึงไม่ทำให้เกิดผลบวกลวง
10.13 วิธีการใช้ชุดทดสอบที่ถูกต้อง จะต้องทำอย่างไร
ตอบ: อ่านคู่มือให้เข้าใจ และทดสอบตามคำแนะนำในคู่มือ
10.14 การเก็บชุดทดสอบก่อนการใช้งานควรเก็บอย่างไร อุณหภูมิเท่าไร อุณหภูมิมีผลต่อชุดตรวจหรือไม่
ตอบ: เก็บรักษาตามที่ระบุในคู่มือของผลิตภัณฑ์
10.15 การใช้ชุดทดสอบชนิดแถบที่ถูกต้อง
ตอบ: การใช้ชุดทดสอบชนิดแถบที่ถูกต้องคือจุ่มปลายชุดทดสอบลงในปัสสาวะ อย่าให้เกินขีดบอกระดับ บนแผ่นทดสอบ ตามเวลาที่กำหนด (ประมาณ 10 วินาที) แล้วหยิบขึ้นวางบนพื้นราบ จับเวลาและอ่านผลตามที่ระบุในคู่มือ
10.16 ปริมาตรปัสสาวะที่หยดในหลุมทดสอบมีผลต่อการตรวจหรือไม่ จำเป็นต้องใช้หลอดหยดที่มากับชุดทดสอบนั้นหรือไม่ หากไม่ได้ใช้ จะมีผลกับการแปลผลหรือไม่
ตอบ: ปริมาตรปัสสาวะที่หยดในหลุมทดสอบมีผลต่อการแปลผลการทดสอบ และควรใช้หลอดหยดที่ให้มากับชุดทดสอบ โดยใช้จำนวนหยดตามที่ระบุในเอกสารกำกับ
10.17 การถ่ายปัสสาวะใส่ถ้วยในปริมาณมากน้อยต่างกัน มีผลต่อการตรวจเบื้องต้นหรือไม่
ตอบ: ปริมาตรของปัสสาวะที่เก็บได้ ไม่มีผลต่อการตรวจเบื้องต้น
10.18 สามารถเก็บปัสสาวะไว้ก่อนส่งตรวจยืนยันผลนานเท่าไหร่
ตอบ: หากเก็บที่อุณหภูมิ 4-8 °C ได้นาน 2-3 เดือน ถ้าแช่แข็งอาจเก็บได้ประมาณ 6 เดือน แต่แนะนำให้ส่งตรวจภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะบูดเน่า
10.19 ถ้าใช้ชุดทดสอบของโรงพยาบาล และตำรวจ ได้ผลตรงกัน แต่ส่งตรวจยืนยันผลที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วได้ผลลบ จะแก้ปัญหาอย่างไร
ตอบ: รายงานผลของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นการตรวจยืนยันผลโดยใช้วิธีแยกสกัดสาร และตรวจอย่างละเอียดเพื่อยืนยันว่ามีสารเสพติดอยู่ในปัสสาวะนั้นจริงๆ ควรยึดผลจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหลัก
ข้อมูลจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สำนักยาและวัตถุเสพติด

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ถ้านำรถไปตรวจสภาพแล้วไม่ผ่าน เพราะมีเหตุขัดข้องที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายขนส่งหรือกฎหมายรถยนต์

ถ้านำรถไปตรวจสภาพแล้วไม่ผ่าน เพราะมีเหตุขัดข้องที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายขนส่งหรือกฎหมายรถยนต์
ถ้าเจ้าของรถร้องขอ พนักงานตรวจสภาพรถจะต้องออกหนังสือในนามของสำนักงานขนส่งที่ีตรวจสภาพว่า "รถคันนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพรถ เพราะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายอะไร ฉบับใด มาตราหรือข้อใดกำหนดไว้อย่างไร และจะต้องไปแก้ไขอย่างไร ให้เจ้าของรถหรือผู้แทนทราบอย่างชัดเจนและในทันทีไม่ชักช้า
ถ้าพนักงานตรวจสภาพรถและหรือขนส่งจังหวัดไม่ยอมออกหนังสือดังกล่าว ไม่ว่าจะโดยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ท่านก็มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เพราะการใช้ดุลพินิจจากการตรวจสภาพ ว่า "รถไม่ผ่านการตรวจสภาพ" ถือเป็นคำสั่งทางปกครองที่เป็นผลร้ายแก่เจ้าของรถ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการออกคำสั่งจึงมีหน้าที่ตามกฎหมาย พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ที่จะต้องมีหนังสือแสดงเหตุผลและรายละเอียดให้เจ้าของรถทราบและเป็นที่เข้าใจ
การบอกกล่าวด้วยวาจา ไม่ถือว่าเป็นการแจ้งคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย
จึงแจ้งมายังเจ้าของรถทุกคนเพื่อทราบ และใช้สิทธิของท่านที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์กับตัวท่าน
ขอฝากสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต รับไปพิจารณาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ ด้วยครับ


ฉัตรไชย ภู่อารีย์

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ❯ มาตรา 92
มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น
(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน
(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น
(4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา 78
การใช้อำนาจตาม (4) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป