หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การค้นบ้านต้องมีหมายศาล

ประเด็นที่ 1 ค้นบ้านโดยไม่มีหมายศาล ตำรวจหรือชุดสืบมีความผิด “ อาญา มาตรา 364 ข้อหาบุกรุกเคหสถาน ” อีกอย่าง
“ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 33 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการค้นเคหสถาน หรือที่รโหฐาน จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่ง หรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ”
ประเด็นที่ 2 เมื่อเราไม่ได้ไปทำอะไรผิด ตำรวจก็ทำอะไรเราไม่ได้ ตำรวจจับตัวลูกชายของคุณศรินทิพย์ ปึงอนะวัฒน์ ไป ทั้งๆที่ลูกชายของคุณศรินทิพย์ไม่ได้ไปทำอะไรผิด ตำรวจหรือชุดสืบมีความผิด “ อาญา มาตรา 311 ข้อหากระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ” , อีกอย่าง “ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 28 ” ก็ชัดเจน ว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่ง หรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ”
ประเด็นที่ 3 คนที่ไม่ใช่ตำรวจ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ มีความผิด “ อาญา มาตรา 145 ข้อหาแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน โดยมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ”
ประเด็นที่ 4 บังคับให้คุณศรินทิพย์จ่ายเงิน แล้วจะปล่อยตัวลูกชายออกมา ตำรวจและชุดสืบมีความผิด “ อาญา มาตรา 309 ข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น ให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด จำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะได้รับอันตราย ” , “ อาญา มาตรา 148 ข้อหาเจ้าพนักงานจูงใจให้ผู้อื่นมอบผลประโยชน์ ” , “ อาญา มาตรา 149 ข้อหาเจ้าพนักงานเรียกรับผลประโยชน์ ” , ถ้าเรียกรับผลประโยชน์ด้วย ข่มขู่ด้วย “ อาญา มาตรา 392 ข้อหาข่มขู่ ทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว โดยขู่เข็ญ ” , “ อาญา มาตรา 337 ข้อหากรรโชกทรัพย์ ” , “ อาญา มาตรา 338 ข้อหารีดเอาทรัพย์ ” , ผิด “ กฎหมายแพ่ง มาตรา 406 ข้อหาลาภมิควรได้ ” , ผิด “ พรบ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 79 (1) ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ ” แค่ “ มิควรได้ ” ไม่จำเป็นต้องทุจริต ก็เป็นความผิดวินัยร้ายแรงแล้ว
เป็นข้าราชการ ถ้ารับทรัพย์สินเงินทองเกินกว่า 3,000 บาท ต้องชี้แจงต่อ ปปช. เงิน 65,000 บาท ที่ตำรวจหรือชุดสืบเรียกจากคุณศรินทิพย์ไป นั้น มันคือค่าอะไร ? ทั้งตำรวจหรือชุดสืบคนนั้น ระวังจะติดคุกเอานะครับ
ประเด็นที่ 5 คุณเสวก และกองปราบฯ อ้างว่า “ คดีไม่เข้าหลักเกณฑ์ ” แค่คุณเสวก และกองปราบฯ พูดออกมา คุณเสวก และกองปราบฯ ก็ผิดแล้ว “ อาญา มาตรา 157 ข้อหาละเว้น หรือข้อหาเลือกปฏิบัติ ” , “ อาญา มาตรา 200 ข้อหาเจ้าพนักงานกระทำการในตำแหน่งโดยมิชอบ หรือข้อหาเจ้าพนักงาน กระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใดๆ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใด มิให้ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลง ”
ประเด็นที่ 6 ในส่วนของคุณศรินทิพย์ และลูกชาย ไปดู
“ พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้ ”
“ พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ”
“ กฎหมายแพ่ง มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ”
ประเด็นที่ 7 ถ้าลูกชายของคุณศรินทิพย์ อายุยังไม่เกิน 20 ปี ตำรวจหรือชุดสืบมีความผิด
“ พรบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “ ทารุณกรรม ” การกระทำ หรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ”
“ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 27 ” ก็ชัดเจน ว่า “ การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ ”
“ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 71 ” ก็ชัดเจน ว่า “ รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครองป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวถูกใช้ความรุนแรง หรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้งให้การบำบัด ฟื้นฟู และเยียวยาผู้ถูกกระทำการดังกล่าว ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น