หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565

ค้นที่รโหฐาน

 สมชาย ไพศาลสัมฤทธิ์

15 ชม.  · 

#ค้นที่รโหฐาน

           จากโพสที่แล้วพยายามอธิบายเหตุอันควรสงสัยในการตรวจค้นบุคคลในที่สาธารณ ตาม ปวิอ ม 93 โดยนำคำพิพากษาฎีกาที่ 8722/2555 และฎีกาที่ 9949/2553 ประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นภาพ ว่าเหตุอันควรสงสัยนั้นจะต้องมาจากข้อเท็จจริงในการกระทำของผู้ต้องหาหรือจำเลยเท่านั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่เองได้ 

           ต่อไปนี้จะอธิบายเรื่องการตรวจค้นในที่รโหฐานตาม ปวิอ ม 92

           โดยหลักของกฎหมายวางเอาไว้ว่า 

            ห้ามทำการค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล

            แต่สามารถค้นได้โดยมีข้อยกเว้นเอาไว้ว่า "ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ" ค้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 

            (4)  เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทําความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทําความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทําความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่า

จะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทําลายเสียก่อน

            ขออธิบายเฉพาะอนุสี่เท่านั้น นอกนั้นง่ายๆ เข้าใจได้เองในตัว

             โดยอนุวงเล็บสี่นั้นวางหลักเอาไว้ว่า 

              เมื่อมีพยานหลักฐานตามสามควร............

              คำว่า พยานหลักฐาน หมายถึง สิ่งที่สามารถใช้พิสูจน์ความผิดหรือบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล ตาม ปวิอ ม 226   

              ความตอนต้นของอนุวงเล็บที่สี่นี้เมื่อกฎหมายกำหนดให้ต้องมีพยานหลักฐานตามสมควรแล้วจะใช้เหตุอันควรได้หรือ คำตอบคือไม่ได้ ไม่ว่าจะเหตุอันควรสงสัยหรือเหตุอันควรเชื่อก็ตามไม่อาจจะใช้ได้ ต้องใช้พยานหลักฐานเท่านั้น

             พยานหลักฐานตามสมควรว่าในที่รโหฐานดังกล่าวนั้น น่าจะต้องมีสิ่งของต่างๆอยู่ 5 อย่างคือ

            1. สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด

            2. สิ่งของได้มาโดยการกระทําความผิด

            3. สิ่งของได้ใช้ในการกระทำความผิด

            4. สิ่งของมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทําความผิด 

            5. สิ่งของที่อาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทําความผิด

          เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรที่กล่าวมาดังกล่าวข้างแล้ว กฎหมายยังกำหนดเงื้อนไขอันสำคัญประการต่อมาคือคำว่า "ประกอบทั้ง" + ต้องมี #เหตุอันควรเชื่อ ว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทําลายเสียก่อน

           ความตอนนี้กฎหมายใช้คำว่า #เหตุอันควรเชื่อ ไม่ใช่ #เหตุอันควรสงสัย  ซึ่งต้องปรากฎข้อเท็จจริงจนมีเหตุให้เชื่อได้ว่า  เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะไปข้อหมายศาลมาได้ สิ่งของที่ต้องการจะค้นหาดังกล่าวนั้นอาจถูกโยกย้ายหรือถูกทำลายเสียก่อน

           ฉะนั้นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลนั้นสามารถกระทำได้ต่อเมื่อ

           1. มีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่ต้องการจะค้น 5 อย่างดังกล่าวนั้นมีอยู่ในที่รโหฐานนั้น

            2. ต้องมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าเพราะเหตุเนิ่นช้ากว่าจะไปจอหมายศาลสิ่งของดังกล่าวนั้นอาจสูญหายหรือถูกทำลาย

          มีพยานหลักฐาน + มีเหตุอันสมควรเชื่อ = ปกครองกับตำรวจ สามารถค้นที่รโหฐานได้โดยไม่มีหมายศาล

           หวังว่าคงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น