ทนายเกิดผล แก้วเกิด
4 มีนาคม เวลา 22:20 น. ·
มีคดีรถชนกัน ต่างฝ่ายต่างประมาท ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้หญิงขับรถยนต์ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชายขับรถจักรยานยนต์
ตำรวจ เรียกทั้งคู่เปรียบเทียบปรับ แต่ดูเหมือนว่า ฝ่ายชาย จะแอบอ้าง รู้จักตำรวจ ท่านผู้ยิ่งใหญ่
ส่วนฝ่ายผู้หญิง โทรหาทนายเล่าให้ทนายฟัง ทนายก็เลยแนะนำว่า ให้จ่ายค่าปรับ เพราะ เราก็มีส่วนประมาทจริง
แต่พอจะจ่ายค่าปรับ ตำรวจบอกว่าต้องยึดรถเก๋ง คันดังกล่าว ไว้ด้วย
เมื่อ ถามเหตุผล ว่าทำไมต้องยึด ตำรวจ ก็อ้างว่า ทำตามกฎหมาย
ผมก็เลยบอกกับคนขับรถยนต์ว่า งั้นจ่ายค่าปรับไปเลย เพราะถ้าจ่ายแล้ว ตำรวจจะไม่มีสิทธิ์ยึดรถ เนื่องจาก ความผิด ฐานขับรถประมาท มีโทษปรับ สถานเดียว คือปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตาม พรบ. จราจรทางบก มาตรา 43
และเมื่อตำรวจเปรียบเทียบปรับแล้ว ก็ทำให้คดีอาญาเลิกกัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 (1)
สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
เมื่อคดีอาญาเลิกกัน ตามมาตรา 37 และมาตรา 39 แล้ว ถือว่าคดีสิ้นสุดลง ตำรวจต้องคืนรถยนต์ของกลาง
หากไม่คืน ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
เจ้าของรถยนต์จึงยอมชำระค่าปรับ ตามคำแนะนำของผม
แต่ตำรวจก็ยังจะยึดรถไว้
ผมเลยขอสายคุยกับตำรวจ โดยยกข้อกฎหมายดังกล่าวประกอบ
และสำทับว่า ถ้าร้อยเวรอยากยึดก็ยึดไปได้เลยครับ แต่ผมรับรองว่า เรื่องนี้ มีผลต่ออายุราชการท่านแน่นอน
สรุปตำรวจไม่ยึดแล้วครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น