หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565

ขีดความสามารถในการตรวจหาสารเสพติดที่โรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ




สมชาย ไพศาลสัมฤทธิ์

19 ชม.  · 

#เจ้าหน้าที่ปปส. #เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ #อัยการ #ศาล

               เรียนเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเพื่อให้ทราบถึง ขีดความสามารถในการตรวจหาสารเสพติดที่โรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศนั้น ไม่ได้มีขีดความสามารถที่จะตรวจหาสารเสพติดชนิดยืนยันผล Confirmation Test  แต่มีขีดความสามารถในการตรวจในขั้น Screening Test เช่นเดียนกันกับการตรวจที่จุดตรวจของ เจ้าพนักงาน ปปส เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ณ จุดตรวจเช่นกัน คือใช้หลัก ภูมิคุ้มกันวิทยา Imunoassay ที่มีค่า Cut off ๑๐๐๐ นาโนกรัม/มิลลิลิตร 

               ซึ่งผลการตรวจเบื้องต้นตามวิธีการดังกล่าวนั้นมีความไม่แน่นอนแม้ให้ผลการตรวจที่เป็นบวกแล้วก็ตาม อาจจะไม่ใช่ยาเสพติดก็ได้ เพราะยาประเภทอื่นๆนั้นก็มีผลการตรวจที่ทับซ้อนกับยาเสพติดได้เช่นกัน เช่น ยาคลายเคลียด ยาแก้หวัด ยาเคลือบกระเพาะ อื่นๆ 

               สิทธิและเสรีภาพของผู้บริสุทธิ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งไม่ควรจะต้องถูก เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปตรวจหาสารเสพติดที่โรงพยายาลของรัฐที่ไม่ได้มีขีดความสามารถในขั้นยืนยันผล แล้วนำผลการตรวจดังกล่าวย้อนกลับมากล่าวหาผู้ต้องสงสัยว่าเสพยาเสพติด โดยไม่ผ่านกระบวนการแยกสารเสพติดจากทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เป็นสถานตรวจพิสูจน์ตามกฎหมายยาเสพติด

            จึงอยากจะให้เจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โปรดได้เข้าใจตามหนังสือรับรองฉบับfดังกล่าวนี้ด้วย เพราะเมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีแล้วมันเหมือนตกนรกทั้งเป็นในสภาพที่ตนเองไม่ได้เสพยาเสพติดมา แต่ต้องมาดิ้นรนต่อสู้คดีในชั้นศาลถึง ๓ ชั้นด้วยกัน เรียกได้ว่ากว่าจะหลุดพ้นออกมาได้ก็งอมพระราม มีบ้านขายบ้าน มีรถขายรถ แทบสิ้นเนื้อประดาตัวไปตามๆกัน 

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565

ค้นที่รโหฐาน

 สมชาย ไพศาลสัมฤทธิ์

15 ชม.  · 

#ค้นที่รโหฐาน

           จากโพสที่แล้วพยายามอธิบายเหตุอันควรสงสัยในการตรวจค้นบุคคลในที่สาธารณ ตาม ปวิอ ม 93 โดยนำคำพิพากษาฎีกาที่ 8722/2555 และฎีกาที่ 9949/2553 ประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นภาพ ว่าเหตุอันควรสงสัยนั้นจะต้องมาจากข้อเท็จจริงในการกระทำของผู้ต้องหาหรือจำเลยเท่านั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่เองได้ 

           ต่อไปนี้จะอธิบายเรื่องการตรวจค้นในที่รโหฐานตาม ปวิอ ม 92

           โดยหลักของกฎหมายวางเอาไว้ว่า 

            ห้ามทำการค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล

            แต่สามารถค้นได้โดยมีข้อยกเว้นเอาไว้ว่า "ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ" ค้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 

            (4)  เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทําความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทําความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทําความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่า

จะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทําลายเสียก่อน

            ขออธิบายเฉพาะอนุสี่เท่านั้น นอกนั้นง่ายๆ เข้าใจได้เองในตัว

             โดยอนุวงเล็บสี่นั้นวางหลักเอาไว้ว่า 

              เมื่อมีพยานหลักฐานตามสามควร............

              คำว่า พยานหลักฐาน หมายถึง สิ่งที่สามารถใช้พิสูจน์ความผิดหรือบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล ตาม ปวิอ ม 226   

              ความตอนต้นของอนุวงเล็บที่สี่นี้เมื่อกฎหมายกำหนดให้ต้องมีพยานหลักฐานตามสมควรแล้วจะใช้เหตุอันควรได้หรือ คำตอบคือไม่ได้ ไม่ว่าจะเหตุอันควรสงสัยหรือเหตุอันควรเชื่อก็ตามไม่อาจจะใช้ได้ ต้องใช้พยานหลักฐานเท่านั้น

             พยานหลักฐานตามสมควรว่าในที่รโหฐานดังกล่าวนั้น น่าจะต้องมีสิ่งของต่างๆอยู่ 5 อย่างคือ

            1. สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด

            2. สิ่งของได้มาโดยการกระทําความผิด

            3. สิ่งของได้ใช้ในการกระทำความผิด

            4. สิ่งของมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทําความผิด 

            5. สิ่งของที่อาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทําความผิด

          เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรที่กล่าวมาดังกล่าวข้างแล้ว กฎหมายยังกำหนดเงื้อนไขอันสำคัญประการต่อมาคือคำว่า "ประกอบทั้ง" + ต้องมี #เหตุอันควรเชื่อ ว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทําลายเสียก่อน

           ความตอนนี้กฎหมายใช้คำว่า #เหตุอันควรเชื่อ ไม่ใช่ #เหตุอันควรสงสัย  ซึ่งต้องปรากฎข้อเท็จจริงจนมีเหตุให้เชื่อได้ว่า  เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะไปข้อหมายศาลมาได้ สิ่งของที่ต้องการจะค้นหาดังกล่าวนั้นอาจถูกโยกย้ายหรือถูกทำลายเสียก่อน

           ฉะนั้นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลนั้นสามารถกระทำได้ต่อเมื่อ

           1. มีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่ต้องการจะค้น 5 อย่างดังกล่าวนั้นมีอยู่ในที่รโหฐานนั้น

            2. ต้องมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าเพราะเหตุเนิ่นช้ากว่าจะไปจอหมายศาลสิ่งของดังกล่าวนั้นอาจสูญหายหรือถูกทำลาย

          มีพยานหลักฐาน + มีเหตุอันสมควรเชื่อ = ปกครองกับตำรวจ สามารถค้นที่รโหฐานได้โดยไม่มีหมายศาล

           หวังว่าคงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565

ลมพัดบ้านพัง แม้บ้านพังเพียงหลังเดียว ถือได้ว่าเป็นสาธารณภัย

 เวทีท้องถิ่น 360องศา

26 กุมภาพันธ์ เวลา 21:32 น.  · 

✅🔥ลมพัดบ้านพัง แม้บ้านพังเพียงหลังเดียว ถือได้ว่าเป็นสาธารณภัย 

ที่ กค ๐๔๐๖.๓/๓๔๖๗๘

กรมบัญชีกลาง

ถนนพระราม 5 กทม. ๑๐๕๐๐

๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๘

เรื่อง หารือแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๖ กรณีเกิดวาตภัยเสียหายหลังเดียว

เรียน อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

อ้างถึง หนังสือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ มท ๐๖๑๒/๖๓๖๘ ลงวันที่

๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘

ตามหนังสือที่อ้างถึงแจ้งว่า จังหวัดขอนแก่นขอหารือแนวทางปฏิบัติตามระเบียบ

กระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๖

กรณีเกิดวาตภัย ทำให้บ้านพักอาศัย จำนวน ๑ หลัง ยังฉางเก็บพืชผลทางการเกษตร หรือคอกสัตว์

ได้รับความเสียหาย เนื่องจากกรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดแก่คนหมู่มาก แต่เกินขีดความสามารถที่ชุมชน

จะรับมือหรือจัดการเองได้ จังหวัดจะสามารถให้ความช่วยเหลือตามระเบียบๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น

กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า โดยที่ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย

เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๖ มีวัตถุประสงค์

เพื่อใช้ในการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้ากรณีภัยพิบัติฉุกเฉินโดยเร่งด่วน

ตามความจำเป็นและเหมาะสม และข้อ ๕ ของระเบียบฯ ได้กำหนดนิยาม “ภัยพิบัติ” หมายความว่า

สาธารณภัยอันได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ... ตลอดจนภัยอื่น ๆ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ

หรือมีบุคคลหรือสัตว์ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือก่อให้เกิด

ความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน โดยไม่ได้กำหนดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต้องมีจำนวนมากน้อย

เพียงใด ดังนั้น หากวาตภัยที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนดังกล่าวข้างต้น

และเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน องรีบแก้ไขเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าแก่ประชาชน

จังหวัดก็สามารถให้ความช่วยเหลือตามระเบียบฯ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

(นางสาวอรนุช ไวนุสิทธิ์)

รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน

อธิบดีกรมบัญชีกลาง

สำนักกฎหมาย

โทร. ๐ ๒๑๒๗ ๗๐๐๐ ต่อ ๔๓๒๐

โทรสาร ๐๒๑๒๗ ๗๒๕๐

🔺ลมพัดบ้านพัง แม้บ้านพังเพียงหลังเดียว ถือได้ว่าเป็นสาธารณภัย 👇👇👇

✅https://drive.google.com/.../1QyKhMAFLDpqekPlZ2ol.../view...

คดีรถชนกัน ต่างฝ่ายต่างประมาท

 ทนายเกิดผล แก้วเกิด 

4 มีนาคม เวลา 22:20 น.  · 

มีคดีรถชนกัน ต่างฝ่ายต่างประมาท ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้หญิงขับรถยนต์ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชายขับรถจักรยานยนต์

ตำรวจ เรียกทั้งคู่เปรียบเทียบปรับ แต่ดูเหมือนว่า ฝ่ายชาย จะแอบอ้าง รู้จักตำรวจ ท่านผู้ยิ่งใหญ่

ส่วนฝ่ายผู้หญิง โทรหาทนายเล่าให้ทนายฟัง ทนายก็เลยแนะนำว่า ให้จ่ายค่าปรับ เพราะ เราก็มีส่วนประมาทจริง

แต่พอจะจ่ายค่าปรับ ตำรวจบอกว่าต้องยึดรถเก๋ง คันดังกล่าว ไว้ด้วย

เมื่อ ถามเหตุผล ว่าทำไมต้องยึด ตำรวจ ก็อ้างว่า ทำตามกฎหมาย

ผมก็เลยบอกกับคนขับรถยนต์ว่า งั้นจ่ายค่าปรับไปเลย เพราะถ้าจ่ายแล้ว ตำรวจจะไม่มีสิทธิ์ยึดรถ เนื่องจาก ความผิด ฐานขับรถประมาท มีโทษปรับ สถานเดียว คือปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตาม พรบ. จราจรทางบก มาตรา 43

และเมื่อตำรวจเปรียบเทียบปรับแล้ว  ก็ทำให้คดีอาญาเลิกกัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 (1)

สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

เมื่อคดีอาญาเลิกกัน ตามมาตรา 37  และมาตรา 39 แล้ว ถือว่าคดีสิ้นสุดลง ตำรวจต้องคืนรถยนต์ของกลาง

หากไม่คืน ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

เจ้าของรถยนต์จึงยอมชำระค่าปรับ ตามคำแนะนำของผม

แต่ตำรวจก็ยังจะยึดรถไว้

ผมเลยขอสายคุยกับตำรวจ โดยยกข้อกฎหมายดังกล่าวประกอบ

และสำทับว่า ถ้าร้อยเวรอยากยึดก็ยึดไปได้เลยครับ แต่ผมรับรองว่า เรื่องนี้ มีผลต่ออายุราชการท่านแน่นอน

สรุปตำรวจไม่ยึดแล้วครับ