หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ทธิที่เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบ

สิทธิที่เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบมีดังต่อไปนี้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 83, มาตรา 84 วรรคแรก)
1. เจ้าพนักงานซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับว่า เขาต้องถูกจับ (ป.วิ.อาญา มาตรา 83 วรรคหนึ่ง) (เพื่อที่จะให้บุคคลผู้ถูกจับรู้ตัวว่าเขาจะต้องถูกจับ)
เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หรือหากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ (ป.วิ. อาญา มาตรา 83วรรคสอง) (เพื่อที่จะให้บุคคลผู้ถูกจับทราบข้อกล่าวหาที่มีการ กล่าวหาแก่ตนในรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เขาจะต้องถูกจับนั้น หรือหากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับทราบ ซึ่งเขาจะได้ทราบข้อกล่าวหาและรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เขาจะต้องถูกจับตามหมายจับนั้น โดยบุคคลผู้ถูกจับจะได้ต่อสู้และแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง ถ้าหากเขาไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด)
3. เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้(ป.วิ. อาญา มาตรา 83 วรรคสอง) (เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลผู้ถูกจับมีโอกาสที่จะเตรียมตัวในการที่จะแก้ข้อกล่าวหา โดยที่จะไม่มีผู้ใดบังคับให้เขาให้การในขณะนั้น ถ้าเขายังไม่มีความพร้อมที่จะให้การ)
4. เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งว่าถ้อยคำที่ผู้ถูกจับให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ยืนยันเขาในการพิจารณาคดีได้(ป.วิ. อาญา มาตรา 83 วรรคสอง)
5. เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งว่าผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความได้ (ป.วิ. อาญา มาตรา 83 วรรคสอง) (เพื่อให้บุคคลผู้ถูกจับสามารถที่จะมีที่ปรึกษาและมีทนายความที่มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เข้ามาคุ้มครองช่วยเหลือแก่เขาในการแก้ข้อกล่าวหาได้เป็นอย่างดี)
6. เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบว่า มีสิทธิแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งเขาไว้วางใจทราบถึงการจับกุมได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 83 วรรคสอง) (โดยเจ้าพนักงานผู้จับต้องอนุญาตให้บุคคลผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ถ้าหากว่าสามารถดำเนินการได้โดยสะดวก และไม่เป็นการ ขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อให้บุคคลผู้ถูกจับมีที่ปรึกษาในทันทีที่เขาถูกจับกุม ซึ่งเขาจะได้ปรึกษาหารือถึงการดำเนินการในการแก้ข้อกล่าวหา หรือการเตรียมการเพื่อขอปล่อยชั่วคราว เป็นต้น)
7. เจ้าพนักงานผู้จับต้องนำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยทันที (ป.วิ. อาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง) (เพื่อให้บุคคลผู้ถูกจับได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้มากขึ้น โดยที่จะไม่ถูกจับและถูกควบคุมจากพนักงานผู้จับไว้นานเกินสมควร และเพื่อให้เจ้าพนักงานผู้รับตัวผู้ถูกจับจะได้ทำการตรวจสอบด้วยว่าการจับของเจ้าพนักงานผู้จับซึ่งจับบุคคลผู้ถูกจับมานั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพียงใดด้วย)
เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับให้แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบและอ่านให้ฟัง (ป.วิ. อาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง (1)) (เพื่อให้บุคคลผู้ถูกจับทราบข้อกล่าวหาและรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับทราบโดยละเอียด และถ้าเป็นการจับโดยมีหมายให้อ่านหมายจับให้บุคคลผู้ถูกจับฟังอีกครั้งหนึ่งเมื่อถึงที่ทำการพนักงานสอบสวน)
เจ้าพนักงานผู้จับต้องมอบสำเนาบันทึกการจับแก่ผู้ถูกจับนั้นด้วย (ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง (1)) (เพื่อให้บุคคลผู้ถูกจับตรวจสอบการจับของเจ้าพนักงานว่าถูกต้องหรือไม่เพียงใด)
ข้อสังเกต ถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่า ตนได้กระทำความผิดที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน และผลของการที่เจ้าพนักงานผู้จับไม่แจ้งสิทธิหรือไม่จัดดำเนินการตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง และมาตรา 83 วรรคสอง (ข้อ 2 ถึงข้อ 9) ถึงแม้เป็นถ้อยคำอื่นของผู้ถูกจับ ก็จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับมิได้
เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับต้องแต่งทนาย
เพียงแต่ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับเขาประสงค์ใช้สิทธิพบทนายความ หรือ ‪#‎ผู้ซึ่งจะเป็นทนายความได้‬ (ป.วิ. อาญา มาตรา 83 วรรคสอง) ก็เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติไว้แล้ว
ปล.ถ้ามีประโยชน์โปรดแชร์ต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น