หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565

#ไม่อยากให้ตำรวจที่ถือบัตรเจ้าพนักงานปปส.ละเมิด โปรดอ่านให้จบ

 

ส่วนราชการ ภ๖ ที่ ๐๐๒๑(ศอ. ปส ภ๖)/๓๔๓
เรื่อง แนวทางการดําเนินการคดีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพ
เรียน ผบก.ภ.จว.ในสังกัด ภ.๖ และ สส.ภ.5
ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ มีผลใช้บังคับในวันที่ ๕ พ.ย.๒๕๖๔ เป็นต้นไป นั้น
เพื่อให้การดําเนินการคดีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายดังกล่าว ก่อนที่จะมีข้อกําหนดที่ระบุ รายละเอียดในกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องออกมา เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้ท่านแจ้งข้าราชการ ตํารวจในสังกัดดําเนินการดังนี้
๑.กรณีตรวจพบบุคคลซึ่งเสพยาเสพติด และไม่ปรากฏว่าผู้นั้น มีพฤติการณ์ ดังนี้ (มาตรา ๑๑๔)
๑.๑ เป็นผู้ต้องหาหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีในความผิดอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจําคุก
๑.๒ อยู่ในระหว่างรับโทษจําคุก ตามคําพิพากษาของศาล
๑.๓ มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม
๑.๔ มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคมที่เกิดจากโรคทางจิตและประสาท หรืออาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเสพติดที่ใช้ และบุคคลนั้น สมัครใจเข้ารับการบําบัดรักษา โดยให้เจ้าหน้าที่ตํารวจ มีหน้าที่ และอํานาจ ดังนี้ (มาตรา ๑๑๕)
(๑) ทําการตรวจหรือค้นบุคคลที่มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าเสพยาเสพติด
(๒) ยึดยาเสพติตจากผู้ครอบครองยาเสพติด
(๓) ตรวจหาสารเสพติด โดยมีเหตุผลอันควรเชื่อว่ามีพฤติการณ์เป็นผู้เสพ
(๔) ให้ผู้ตรวจพบทําบันทึกข้อมูล แบบ ต.๑ ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ให้โทษเรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้ โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๔ ลง ๑๖ พ.ย.๖๔
(๕) สอบถามความสมัครใจและให้ลงนามสมัครใจหรือไม่สมัครใจเข้ารับการบําบัดรักษา
(๖) เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามข้อ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และเพื่อส่งตัวผู้นั้นไปยัง ศูนย์คัดกรองหรือสถานพยาบาลยาเสพติด จะให้บุคคลนั้นอยู่ในความดูแลเป็นการชั่วคราวได้ แต่ต้องไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลนั้นมีสารเสพติดในร่างกาย
(๗) รวบรวม ข้อมูล หลักฐาน บันทึก ต่างๆ ที่เก็บไว้ ตามข้อ (๑) (๒) (๓) (๔),(๕) (๖) นําส่ง พนักงานสอบสวนเพื่อเก็บไว้ โดยให้พนักงานสอบสวนตั้งเป็นสํานวนผู้เสพ เพื่อเป็นหลักฐานในกรณีที่จําเป็นจะต้อง ดําเนินคดีกับบุคคลนั้นภายหลัง
(๘) ให้ทุก สภ.จัดทําสมุดคุมผู้เสพที่สมัครใจบําบัดไว้ ให้มีข้อมูลรายละเอียด ตามแบบ รายงานที่แนบ เพื่อนํามาใช้สําหรับตรวจสอบและควบคุมคดีผู้เสพ/ผู้บําบัด
(๙) กรณีที่ผู้ที่ถูกตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ ไม่สมัครใจเข้ารับการบําบัดรักษา ให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจพบ ทําบันทึกผลการตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะเบื้องต้น โดยให้มีรายละเอียดเพื่อให้ทราบ ข้อมูล ประวัติส่วนตัว ที่อยู่ อาชีพ รายได้ พฤติการณ์โดยสังเขป และให้ผู้ที่ถูกตรวจพบสารเสพติดในร่างกาย มาลง ประจําวันเกี่ยวกับพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง ให้พนักงานสอบสวนเวรรับเลขคดี และดําเนินการดังต่อไปนี้
๑) ไม่มีการควบคุมตัว ผู้ที่ถูกตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ และเมื่อได้ดําเนินการตาม ขั้นตอนการซักถามแล้วเสร็จ ให้พนักงานสอบสวนสอบถามช่องทางการติดต่อเพื่อนัดหมายให้มาพบ เมื่อได้รับผล ตรวจยืนยัน
๒) น้ําปัสสาวะส่งตรวจ เพื่อยืนยันผลตามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อผลตรวจยืนยัน พบว่าเป็นยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากับผู้ต้องหา และมีความเห็นควรสั่งฟ้องไป
๓) หากผลตรวจไม่พบสารเสพติด ให้พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง
๔) เหตุผล หากไม่รับเลขคดี จะทําให้เกิดความล่าช้าในชั้นสอบสวน เนื่องจากไม่มีการ ติดตามผลตรวจ มาเพื่อสั่งคดีต่อไป หรือกรณีที่ได้รับผลตรวจมาแล้ว แต่พนักงานสอบสวนไม่ยอมทําคดีต่อ เนื่องจาก ไม่มีการตรวจสอบควบคุมสํานวนคดี เมื่อไม่ได้รับเลขคดีไว้
๒.กรณีตรวจพบผู้ขับขี่ยานพาหนะเสพยาเสพติด (ขับเสพ) ให้เจ้าหน้าที่ตํารวจดําเนินการดังนี้
๒.๑ ให้ผู้ตรวจพบทําบันทึกข้อมูล แบบ ต.๑ ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ให้โทษ เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติด ให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๖ พ.ย.๖๔
๒.๒ จัดเก็บปัสสาวะ ตามแนวทางที่กฎหมายกําหนด เพื่อเตรียมส่งตรวจพิสูจน์
๒.๓ ให้บุคคลที่ถูกตรวจพบ ไปลงประจําวัน โดยละเอียดเกี่ยวกับพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง แจ้งให้ พนักงานสอบสวนเวรทราบ เพื่อรับเลขคดี เนื่องจากอาจมีผลกรณีส่งปัสสาวะไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ถ้าไม่มี เลขคดี ทางศูนย์วิทยาศาสตร์จะไม่สามารถเบิกค่าตรวจได้ (ซึ่งจะเป็นภาระของผู้ส่งตรวจ จะต้องออกค่าใช้จ่ายในการ ตรวจสารเสพติดเอง) หากผลการตรวจพบสารเสพติดตั้งแต่ ๑ ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ให้พนักงานสอบสวนเรียกตัว ผู้ต้องหามาแจ้งข้อหา แล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้อง หากผลตรวจไม่พบหรือพบสารเสพติดไม่ถึงปริมาณ ๑ ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร ให้สังไม่ฟ้อง และให้สอบถามความสมัครใจเข้ารับการบําบัด เพื่อดําเนินการตาม ข้อ ๑
๒.๔ กรณีบุคคลที่ถูกตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะขณะขับขี่ยานพาหนะ ไม่มาตามนัดหมาย ของ พนักงานสอบสวน ให้ดําเนินการ ออกหมายเรียก และ ขออนุมัติหมายจับ ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
๓.กรณีจับกุมบุคคล พร้อมของกลางยาเสพติด(ยาบ้า)ไม่ถึง ๑๕ หน่วยการใช้ (เม็ด ตรวจปัสสาวะผู้ครอบครองยาเสพติด พบเป็นผลบวก ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้เสพ โดยแจ้งข้อหามียาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ (ยาบ้า) ไว้ในครอบครองเพื่อเสพ เว้นแต่จะมีหลักฐานและปรากฏว่าบุคคลดังกล่าว มีพฤติการณ์ เกี่ยวข้องกับยาเสพติดโดย เป็นผู้ที่มีประวัติเป็นผู้ค้า หรือมีรายงานประกอบอื่นว่าเป็นผู้จําหน่ายยาเสพติด ให้พิจารณา แจ้งข้อกล่าวหาโดยใช้ดุลพินิจตามข้อกฎหมายอย่างเหมาะสม เป็นธรรม
๔. ประเด็นปัญหาบางพื้นที่ เมื่อเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมตรวจพบผู้เสพยาเสพติด หรือ มียาเสพติดใน ครอบครอบเพื่อเสพ และบุคคลนั้นสมัครใจขอเข้ารับการบําบัดรักษา โดยศูนย์คัดกรอง หรือสถานพยาบาลยาเสพติด บางแห่ง เมื่อเจ้าหน้าที่นําตัวส่งโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ และโรงพยาบาลดังกล่าวตรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่า บุคคล ดังกล่าวเคยได้เข้ารับการบําบัด ตามคําสั่ง คสช.ฉบับที่ ๑๐๘/๒๕๕๗ มาแล้วหนึ่งครั้ง จึงไม่ยอมรับเข้าบําบัดตาม ขั้นตอน กระบวนการ
๔.๑ ควรให้เจ้าหน้าที่ตํารวจที่ตรวจพบผู้เสพเบื้องต้นดังกล่าว มาลงรายละเอียดประจําวันไว้ กรณีเหตุผลที่โรงพยาบาลไม่ยอมรับตัวผู้ต้องหา
๔.๒ ให้ หน.สถานีตํารวจ ทําหนังสือถึง ผอ.โรงพยาบาลฯ เพื่อส่งตัวผู้ต้องหาที่สมัครใจเข้า บําบัด โดยให้ อ้างข้อกฎหมายว่าคําสั่ง คสช.ฉบับที่ ๑๐๘/๒๕๕๗ เรื่องปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทําความผิดตาม กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเข้าสู่การบําบัดฟื้นฟู และการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ได้ถูกยกเลิกตามประมวล กฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ มาตรา ๔๔๒๑) ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตํารวจที่ตรวจพบผู้เสพ เบื้องต้นจึงมีอํานาจส่งตัว ผู้ต้องสงสัยเข้าบําบัด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ มาตรา ๑๑๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น