หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ผู้พิพากษา” กางข้อกฎหมายไม่จ่าย “ค่าปรับใบสั่งจราจร” เจอ “ออกหมายจับ” ??

 

📌“ผู้พิพากษา” กางข้อกฎหมายไม่จ่าย “ค่าปรับใบสั่งจราจร” เจอ “ออกหมายจับ” ??
🖋นายสันติ ผิวทองคำ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง เผยแพร่บทความในประเด็นนี้โดยระบุว่าคดีความผิดตามใบสั่ง กฎหมายถือเป็นคดีความผิดลหุโทษ มีอายุความเพียง 1 ปี ส่วนการดำเนินคดี ในกรณีที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรตามภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิด หรือ กล้อง CCTV หรือไม่ ตำรวจต้องให้โอกาสเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองโต้แย้งตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ถึง มาตรา 141/1 ก่อน จะขออนุมัติศาลออกหมายจับทันทีนั้นไม่ได้
❗️“เนื่องจากคดีประเภทนี้เป็นความผิดเล็กน้อย และหากเป็นกรณีที่ตำรวจพบการกระทำความผิดผ่าน กล้องวงจรปิด ซึ่งไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า เบื้องต้นตำรวจย่อมมีข้อมูลเพียงอย่างเดียวคือ หมายเลขทะเบียนรถ ที่กระทำผิดกฎหมายจราจร กรณีไม่แน่ชัดว่าผู้มีรายชื่อถือกรรมสิทธิ์รถหรือผู้มีรายชื่อเป็นผู้ครอบครองรถนั้นเป็นผู้ขับขี่ฝ่าฝืนหรือกระทำผิด พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ในข้อหาที่กล้องวงจรปิดหรือ กล้อง CCTV บันทึกไว้ได้หรือไม่ กฎหมายจราจรจึงกำหนด ขั้นตอนให้โอกาสแก่บุคคลผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของรถหรือมีรายชื่อเป็นผู้ครอบครองได้โต้แย้งข้อหาที่กล้องบันทึกไว้ก่อนที่จะส่งเรื่องไปให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี ตำรวจยังไม่สามารถกล่าวโทษหรือกล่าวหาอันนำไปสู่การออกหมายเรียกหรือออกหมายจับผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของรถหรือผู้มีรายชื่อเป็นผู้ครอบครอง ได้ทันทีแต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ถึง มาตรา 141/1”❗️
🖋กรณีต้องการขอหมายจับต้องเข้า “กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน” และพนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานหลักฐาน และออกหมายเรียกเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองให้มาพบอย่างน้อย 2 ครั้ง
🖋ซึ่งการส่งหมายเรียกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ป.วิ.อาญา และต้องมั่นใจว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้รับหมายเรียกแล้ว “จงใจไม่ยอมไปพบพนักงานสอบสวน” ตามที่กำหนด และพยานหลักฐานต้องเพียงพอเชื่อได้ว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองเป็นผู้ขับขี่รถในวันเกิดเหตุ และจงใจไม่ยอมไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกถึง 2 ครั้ง นอกจากนี้คดีต้องไม่ขาดอายุความ “ศาลจึงจะพิจารณาอนุมัติหมายจับ” เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองตามที่ร้องขอ
❗️“กรณีหาอาจอนุมัติหมายจับตามใจเจ้าพนักงานตำรวจไม่ เพราะศาลเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาแก่สังคม”❗️
🖋ถึงแม้ศาลอนุมัติหมายจับให้แต่ตำรวจก็ต้องติดตามตัวเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองมาแจ้งข้อหาให้ได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ และแม้จะพบตัวเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถตามหมายจับ ก็ไม่อาจควบคุมตัวหรือควบคุมขังเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้เพราะเป็นเพียงคดีความผิดเล็กน้อย หรือ ลหุโทษ คงได้แต่ เพียงสอบถามชื่อนามสกุล และ แจ้งข้อหาให้ทราบแล้วต้องปล่อยตัวไปเท่านั้น
🖋จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการขออนุมัติศาลออกหมายจับในคดีความผิดตามใบสั่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกฎหมายมองว่าเป็นเพียงคดีความผิดที่มีโทษเพียงเล็กน้อยและเป็นคดีลหุโทษ จึงกำหนดเงื่อนไขไว้ค่อนข้างเคร่งครัด
🖋นอกจากนี้แม้ศาลอนุมัติหมายจับแล้วในคดีความผิดลหุโทษหรือความผิดตามใบสั่งตำรวจจะต้องทำสำนวนสอบสวน และส่งเรื่องให้พนักงานอัยการ พิจารณา และต้องฟ้องเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองต่อศาลภายใน 1 ปี มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความ ก็ไม่สามารถดำเนินคดีกับเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้อีกเช่นกัน
🖋จากขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเพื่อควบคุมการใช้อำนาจของตำรวจ ประกอบกับการออกหมายจับหรือไม่เป็นดุลพินิจโดยแท้ของศาล ที่กฎหมายให้อำนาจศาลถ่วงดุลการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และพนักงานสอบสวนอีกส่วนหนึ่ง และระยะเวลาการดำเนินคดีที่สั้น ประกอบกับตำรวจหรือพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจควบคุมตัวผู้กระทำผิดในคดีลหุโทษหรือคดีความผิดตามใบสั่ง
❗️ผู้ใช้รถใช้ถนนหรือเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ จึงไม่ควรกังวลกับข่าวที่แพร่ออกทางสื่อสารมวลชนดังกล่าวมากจนเกินไป เพราะการอนุมัติหมายจับเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถในคดีความผิดตามใบสั่ง เป็นดุลพินิจของศาล หาใช่เป็นดุลพินิจของตำรวจไม่❗️
ที่มา : ขั้นตอนการขออนุมัติหมายจับในคดีความผิดตามใบสั่ง By ท่านติ

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565

#ถ้าไม่พบเห็น การกระทำความผิด.. จะเรียกให้หยุดเพื่อขอดูใบขับขี่.. เพื่อตรวจค้น.. เพื่อตรวจปัสสาวะ.. เพื่อเป่าทดสอบเมาแล้วขับ.. หรือเพื่อตรวจสภาพรถ ไม่ได้..

 

#ถ้าไม่พบเห็น การกระทำความผิด.. จะเรียกให้หยุดเพื่อขอดูใบขับขี่.. เพื่อตรวจค้น.. เพื่อตรวจปัสสาวะ.. เพื่อเป่าทดสอบเมาแล้วขับ.. หรือเพื่อตรวจสภาพรถ ไม่ได้..
เว้นแต่..
มีเหตุอันควรเชื่อว่า คนขับไม่อยู่ในสภาพขับได้ เช่น ขับรถเป๋ไปมาเพราะง่วง หรือเมาสุรา..
มีอำนาจเรียกให้รถหยุดเพื่อทดสอบการเมาสุราได้ ..
ถ้าพบว่าเมาสุรา.. จะขอดูใบขับขี่ หรือจับกุมดำเนินคดีก็ได้..
ตั้งแต่วันที่ 20 กย.62 เป็นต้นไป..
#เมื่อพบเห็น การกระทำความผิดฐาน ฝ่าไฟแดง, ห้ามแซง, ห้ามจอด, ขับเร็วเกิน, ไม่รัดเข็มขัดฯ..
ตำรวจจราจรมีอำนาจเรียกให้หยุดได้.. ขอดูใบขับขี่ได้.. จับได้.. จับแล้วไม่ปรับ แต่ว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไป ได้.. หรือจับแล้ว ออกใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับก็ได้..
.. แต่ตำรวจจราจรไม่มีอำนาจยึดใบขับขี่ไว้เพื่อให้ไปเสียค่าปรับ..(ม.140)
เว้นแต่ คนขับขาดคุณสมบัติ หรือรถ หรือผู้ขับอยู่ในสภาพที่จะขับไปได้โดยปลอดภัย.. เช่น เมาแล้วขับ..
แบบนี้ จะยึดใบขับขี่ตัวจริง หรือไม่ยึดใบขับขี่.. แต่บันทึกการยึดด้วยวิธีการทาง อิเล็คทรอนิกส์แทนก็ได้..
นอกจากนี้ ถ้าตำรวจจราจรขอดูใบขับขี่.. ผู้ขับขี่จะแสดงใบขับขี่ตัวจริง.. หรือจะให้ดูรูปภาพใบขับขี่ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือแทนก็ได้..
#ถ้าไม่พบเห็น การกระทำความผิด.. จะเรียกให้หยุดเพื่อขอดูใบขับขี่.. เพื่อตรวจค้น.. เพื่อตรวจปัสสาวะ.. เพื่อเป่าทดสอบเมาแล้วขับ.. หรือเพื่อตรวจสภาพรถ ไม่ได้..
เว้นแต่..
มีเหตุอันควรเชื่อว่า คนขับไม่อยู่ในสภาพขับได้ เช่น ขับรถเป๋ไปมาเพราะง่วง หรือเมาสุรา..
มีอำนาจเรียกให้รถหยุดเพื่อทดสอบการเมาสุราได้ ..
ถ้าพบว่าเมาสุรา.. จะขอดูใบขับขี่ หรือจับกุมดำเนินคดีก็ได้..

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565

#ไม่อยากให้ตำรวจที่ถือบัตรเจ้าพนักงานปปส.ละเมิด โปรดอ่านให้จบ

 

ส่วนราชการ ภ๖ ที่ ๐๐๒๑(ศอ. ปส ภ๖)/๓๔๓
เรื่อง แนวทางการดําเนินการคดีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพ
เรียน ผบก.ภ.จว.ในสังกัด ภ.๖ และ สส.ภ.5
ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ มีผลใช้บังคับในวันที่ ๕ พ.ย.๒๕๖๔ เป็นต้นไป นั้น
เพื่อให้การดําเนินการคดีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายดังกล่าว ก่อนที่จะมีข้อกําหนดที่ระบุ รายละเอียดในกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องออกมา เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้ท่านแจ้งข้าราชการ ตํารวจในสังกัดดําเนินการดังนี้
๑.กรณีตรวจพบบุคคลซึ่งเสพยาเสพติด และไม่ปรากฏว่าผู้นั้น มีพฤติการณ์ ดังนี้ (มาตรา ๑๑๔)
๑.๑ เป็นผู้ต้องหาหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีในความผิดอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจําคุก
๑.๒ อยู่ในระหว่างรับโทษจําคุก ตามคําพิพากษาของศาล
๑.๓ มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม
๑.๔ มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคมที่เกิดจากโรคทางจิตและประสาท หรืออาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเสพติดที่ใช้ และบุคคลนั้น สมัครใจเข้ารับการบําบัดรักษา โดยให้เจ้าหน้าที่ตํารวจ มีหน้าที่ และอํานาจ ดังนี้ (มาตรา ๑๑๕)
(๑) ทําการตรวจหรือค้นบุคคลที่มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าเสพยาเสพติด
(๒) ยึดยาเสพติตจากผู้ครอบครองยาเสพติด
(๓) ตรวจหาสารเสพติด โดยมีเหตุผลอันควรเชื่อว่ามีพฤติการณ์เป็นผู้เสพ
(๔) ให้ผู้ตรวจพบทําบันทึกข้อมูล แบบ ต.๑ ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ให้โทษเรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้ โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๔ ลง ๑๖ พ.ย.๖๔
(๕) สอบถามความสมัครใจและให้ลงนามสมัครใจหรือไม่สมัครใจเข้ารับการบําบัดรักษา
(๖) เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามข้อ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และเพื่อส่งตัวผู้นั้นไปยัง ศูนย์คัดกรองหรือสถานพยาบาลยาเสพติด จะให้บุคคลนั้นอยู่ในความดูแลเป็นการชั่วคราวได้ แต่ต้องไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลนั้นมีสารเสพติดในร่างกาย
(๗) รวบรวม ข้อมูล หลักฐาน บันทึก ต่างๆ ที่เก็บไว้ ตามข้อ (๑) (๒) (๓) (๔),(๕) (๖) นําส่ง พนักงานสอบสวนเพื่อเก็บไว้ โดยให้พนักงานสอบสวนตั้งเป็นสํานวนผู้เสพ เพื่อเป็นหลักฐานในกรณีที่จําเป็นจะต้อง ดําเนินคดีกับบุคคลนั้นภายหลัง
(๘) ให้ทุก สภ.จัดทําสมุดคุมผู้เสพที่สมัครใจบําบัดไว้ ให้มีข้อมูลรายละเอียด ตามแบบ รายงานที่แนบ เพื่อนํามาใช้สําหรับตรวจสอบและควบคุมคดีผู้เสพ/ผู้บําบัด
(๙) กรณีที่ผู้ที่ถูกตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ ไม่สมัครใจเข้ารับการบําบัดรักษา ให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจพบ ทําบันทึกผลการตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะเบื้องต้น โดยให้มีรายละเอียดเพื่อให้ทราบ ข้อมูล ประวัติส่วนตัว ที่อยู่ อาชีพ รายได้ พฤติการณ์โดยสังเขป และให้ผู้ที่ถูกตรวจพบสารเสพติดในร่างกาย มาลง ประจําวันเกี่ยวกับพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง ให้พนักงานสอบสวนเวรรับเลขคดี และดําเนินการดังต่อไปนี้
๑) ไม่มีการควบคุมตัว ผู้ที่ถูกตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ และเมื่อได้ดําเนินการตาม ขั้นตอนการซักถามแล้วเสร็จ ให้พนักงานสอบสวนสอบถามช่องทางการติดต่อเพื่อนัดหมายให้มาพบ เมื่อได้รับผล ตรวจยืนยัน
๒) น้ําปัสสาวะส่งตรวจ เพื่อยืนยันผลตามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อผลตรวจยืนยัน พบว่าเป็นยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากับผู้ต้องหา และมีความเห็นควรสั่งฟ้องไป
๓) หากผลตรวจไม่พบสารเสพติด ให้พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง
๔) เหตุผล หากไม่รับเลขคดี จะทําให้เกิดความล่าช้าในชั้นสอบสวน เนื่องจากไม่มีการ ติดตามผลตรวจ มาเพื่อสั่งคดีต่อไป หรือกรณีที่ได้รับผลตรวจมาแล้ว แต่พนักงานสอบสวนไม่ยอมทําคดีต่อ เนื่องจาก ไม่มีการตรวจสอบควบคุมสํานวนคดี เมื่อไม่ได้รับเลขคดีไว้
๒.กรณีตรวจพบผู้ขับขี่ยานพาหนะเสพยาเสพติด (ขับเสพ) ให้เจ้าหน้าที่ตํารวจดําเนินการดังนี้
๒.๑ ให้ผู้ตรวจพบทําบันทึกข้อมูล แบบ ต.๑ ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ให้โทษ เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติด ให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๖ พ.ย.๖๔
๒.๒ จัดเก็บปัสสาวะ ตามแนวทางที่กฎหมายกําหนด เพื่อเตรียมส่งตรวจพิสูจน์
๒.๓ ให้บุคคลที่ถูกตรวจพบ ไปลงประจําวัน โดยละเอียดเกี่ยวกับพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง แจ้งให้ พนักงานสอบสวนเวรทราบ เพื่อรับเลขคดี เนื่องจากอาจมีผลกรณีส่งปัสสาวะไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ถ้าไม่มี เลขคดี ทางศูนย์วิทยาศาสตร์จะไม่สามารถเบิกค่าตรวจได้ (ซึ่งจะเป็นภาระของผู้ส่งตรวจ จะต้องออกค่าใช้จ่ายในการ ตรวจสารเสพติดเอง) หากผลการตรวจพบสารเสพติดตั้งแต่ ๑ ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ให้พนักงานสอบสวนเรียกตัว ผู้ต้องหามาแจ้งข้อหา แล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้อง หากผลตรวจไม่พบหรือพบสารเสพติดไม่ถึงปริมาณ ๑ ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร ให้สังไม่ฟ้อง และให้สอบถามความสมัครใจเข้ารับการบําบัด เพื่อดําเนินการตาม ข้อ ๑
๒.๔ กรณีบุคคลที่ถูกตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะขณะขับขี่ยานพาหนะ ไม่มาตามนัดหมาย ของ พนักงานสอบสวน ให้ดําเนินการ ออกหมายเรียก และ ขออนุมัติหมายจับ ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
๓.กรณีจับกุมบุคคล พร้อมของกลางยาเสพติด(ยาบ้า)ไม่ถึง ๑๕ หน่วยการใช้ (เม็ด ตรวจปัสสาวะผู้ครอบครองยาเสพติด พบเป็นผลบวก ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้เสพ โดยแจ้งข้อหามียาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ (ยาบ้า) ไว้ในครอบครองเพื่อเสพ เว้นแต่จะมีหลักฐานและปรากฏว่าบุคคลดังกล่าว มีพฤติการณ์ เกี่ยวข้องกับยาเสพติดโดย เป็นผู้ที่มีประวัติเป็นผู้ค้า หรือมีรายงานประกอบอื่นว่าเป็นผู้จําหน่ายยาเสพติด ให้พิจารณา แจ้งข้อกล่าวหาโดยใช้ดุลพินิจตามข้อกฎหมายอย่างเหมาะสม เป็นธรรม
๔. ประเด็นปัญหาบางพื้นที่ เมื่อเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมตรวจพบผู้เสพยาเสพติด หรือ มียาเสพติดใน ครอบครอบเพื่อเสพ และบุคคลนั้นสมัครใจขอเข้ารับการบําบัดรักษา โดยศูนย์คัดกรอง หรือสถานพยาบาลยาเสพติด บางแห่ง เมื่อเจ้าหน้าที่นําตัวส่งโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ และโรงพยาบาลดังกล่าวตรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่า บุคคล ดังกล่าวเคยได้เข้ารับการบําบัด ตามคําสั่ง คสช.ฉบับที่ ๑๐๘/๒๕๕๗ มาแล้วหนึ่งครั้ง จึงไม่ยอมรับเข้าบําบัดตาม ขั้นตอน กระบวนการ
๔.๑ ควรให้เจ้าหน้าที่ตํารวจที่ตรวจพบผู้เสพเบื้องต้นดังกล่าว มาลงรายละเอียดประจําวันไว้ กรณีเหตุผลที่โรงพยาบาลไม่ยอมรับตัวผู้ต้องหา
๔.๒ ให้ หน.สถานีตํารวจ ทําหนังสือถึง ผอ.โรงพยาบาลฯ เพื่อส่งตัวผู้ต้องหาที่สมัครใจเข้า บําบัด โดยให้ อ้างข้อกฎหมายว่าคําสั่ง คสช.ฉบับที่ ๑๐๘/๒๕๕๗ เรื่องปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทําความผิดตาม กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเข้าสู่การบําบัดฟื้นฟู และการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ได้ถูกยกเลิกตามประมวล กฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ มาตรา ๔๔๒๑) ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตํารวจที่ตรวจพบผู้เสพ เบื้องต้นจึงมีอํานาจส่งตัว ผู้ต้องสงสัยเข้าบําบัด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ มาตรา ๑๑๔