หน้าเว็บ

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

บุกค้นบ้านโดยไม่มีหมายศาลมิหนำซ้ำจับไส่กุญแจมือ ใช้อำนาจในทางมิชอบ สู้สิครับ

บุกค้นบ้านโดยไม่มีหมายศาลมิหนำซ้ำจับไส่กุญแจมือ ใช้อำนาจในทางมิชอบ สู้สิครับ
*มาตรา ๕๗ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา ๗๘
มาตรา ๗๙ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๒ และมาตรา ๙๔ แห่งประมวลกฏหมายนี้ จะจับ ขัง จำคุก หรือค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลสำหรับการนั้น
บุคคลซึ่งต้องขังหรือจำคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมายปล่อยของศาล
.......,.............
*มาตรา ๕๙/๑ ก่อนออกหมาย จะต้องปรากฏพยานหลักฐานตามสมควรที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่า มีเหตุที่จะออกหมายตามมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑
คำสั่งศาลให้ออกหมายหรือยกคำร้อง จะต้องระบุเหตุผลของคำสั่งนั้นด้วย
หลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอ การพิจารณา รวมทั้งการออกคำสั่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฏีกา
**มาตรา ๖๐ หมายจับ หมายค้น หมายขัง หมายจำคุก หรือหมายปล่อย ต้องทำหนังสือและมีข้อความดังต่อไปนี้
(๑) สถานที่ออกหมาย
(๒) วันเดือนปีที่ออกหมาย
(๓) เหตุที่ต้องออกหมาย
(๔) (ก) ในกรณีออกหมายจับ ต้องระบุชื่อรูปพรรณของบุคคลที่จะถูกจับ
(ข) ในกรณีออกหมายขัง หมายจำคุก หรือหมายปล่อย ต้องระบุชื่อบุคคลที่จะถูกขัง จำคุก หรือปล่อย
(ค) ในกรณีออกหมายค้น ให้ระบุสถานที่ที่จะค้นและชื่อ หรือรูปพรรณบุคคลหรือลักษณะสิ่งของที่ต้องการค้นกำหนดวันเวลาที่จะทำการค้น และชื่อกับตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้จะทำการค้นนั้น
(๕) (ก) ในกรณีออกหมายจับ หมายขัง หรือหมายค้นให้ระบุความผิด หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย
(ข) ในกรณีออกหมายจำคุก ให้ระบุความผิดและกำหนดโทษตามคำพิพากษา
(ค) ในกรณีออกหมายขังหรือหมายจำคุก ให้ระบุสถานที่ที่จะให้ขังหรือจำคุก
(ง) ในกรณีออกหมายปล่อย ให้ระบุเหตุที่ให้ปล่อย
(๖) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล
.,..............
*มาตรา ๖๙ เหตุที่จะออกหมายค้นได้มีดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา
(๒) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยผิดกฏหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำความผิด
(๓) เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฏหมาย
(๔) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ
(๕) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษาหรือตามคำสั่งศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว
*มาตรา ๗๐ หมายค้นซึ่งออกเพื่อพบและจับบุคคลนั้นห้ามมิให้ออก เว้นแต่จะมีหมายจับบุคคลนั้นด้วย และเจ้าพนักงานซึ่งจะจัดการตามหมายค้นนั้นต้องมีทั้งหมายค้นและหมายจับ

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563

สูตรอาหารบำรุงไต "น้ำข้าวร้อนๆชงกับไข่ขาวดิบ"

ใครมีคนที่รักแชร์ต่อไปนะคับ ผมไปเจอมาอาจจะช่วยคนที่คุณรักและคนที่คุณรู้จักได้นะครับ
อาหารเช้าบำรุงสุขภาพไต น้ำข้าวร้อนๆชงกับไข่ขาวดิบ ง่ายๆ ราคาถูก สูตรชาวบ้านบอกต่อๆกันมา ได้ผลดีจริงสำหรับผู้ป่วยโรคไต คุณแม่ผม (แม่จวน ไพรชาญจิตร์) อายุ ๙๑ ปี ไตเสื่อมสภาพถึงขั้นที่แพทย์ รพ. ธรรมศาสตร์นัดเจาะช่องท้องเพื่อฟอกไตเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๐ ระหว่างรอพบแพทย์เพื่อดำเนินการ พี่สาว (บรรจง มีสัตย์ธรรม) ได้สูตรอาหารบำรุงไต "น้ำข้าวร้อนๆชงกับไข่ขาวดิบ" จากญาติๆ ทำให้แม่กินวันละ ๔ ฟอง เช้าสองฟอง เย็นสองฟอง ประมาณสิบกว่าวัน พอถึงเวลาไปพบแพทย์ ตรวจค่าไต แพทย์บอกว่าค่าไตดีขึ้นมาก ยังไม่จำป็นต้องฟอกไต จนกระทั่งทุกวันนี้ สุขภาพแม่ดีขึ้นมาก เดินคล่อง ผิวพรรณดูสดใสขึ้นมาก ยังกินน้ำข้าว+ไข่ขาวดิบ ต่อเนื่องทุกวัน ตัวผมลองเอาสูตรนี้มาทำกินเองบ้าง วันละ ๒ มื้อๆละ ๑ ฟอง กินมาแล้ว ๒ สัปดาห์ รู้สึกได้ว่าร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้นมาก ที่เคยเพลียๆง่วงเหงาหาวนอนตอนเช้าตอนบ่ายก็หายไป ปัสสาวะก็มีสีและกลิ่นดีขึ้นมาก วิธีทำก็แสนง่าย ราคาก็ไม่แพง ลองทำกินกันดูนะครับ น้ำข้าวร้อนๆก็เอาจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้านั่นแหละ เวลาหุงข้าวก็ใส่น้ำมากๆหน่อย พอเดือดก็ตักน้ำข้าวออกมาชงกับไข่ขาวดิบ ไม่ต้องเติมเค็ม ไม่ต้องเติมหวานที่เป็นอันตรายต่อไต กินตอนที่ยังร้อนอยู่นะครับ กรุณาเเชร์เพื่อบอกบุญครับ...

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563

Panitarn Wasinpoksub ฝากถึงตำรวจ

ประเด็นที่ 1 ถ้าเราไม่ได้ไปทำอะไรผิด ตำรวจก็ทำอะไรเราไม่ได้ ถ้าตำรวจจับตัวเราไป ทั้งๆที่เราไม่ได้ไปทำอะไรผิด ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ชุดจับกุม มีความผิด อาญา มาตรา 311 ข้อหากระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย , อีกอย่าง “ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 28 ” ก็ชัดเจน ว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่ง หรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ”
ประเด็นที่ 2 เอาคดีอาญามาเล่นงานเรา ทั้งๆที่เราไม่ได้ไปทำผิดอาญา เราไม่ได้ไปทำอะไรผิด ทั้งตำรวจหรือผู้ฟ้อง มีความผิด อาญา มาตรา 137 ข้อหาแจ้งความเท็จ , อาญา มาตรา 172 ข้อหาเบิกความเท็จ , อาญา มาตรา 173 ข้อหามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่แอบอ้างว่ามีความผิด , อาญา มาตรา 174 ข้อหาการแจ้งข้อความตามมาตรา 172 มาตรา 173 เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย , อาญา มาตรา 175 ข้อหาเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่น ว่าทำผิดอาญาแรงกว่าความเป็นจริง , อาญา มาตรา 177 ข้อหาเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่น ความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดี , อาญา มาตรา 200 ข้อหาเจ้าพนักงานกระทำการในตำแหน่งโดยมิชอบ หรือข้อหาเจ้าพนักงานกระทำการกลั่นแกล้งทำให้ผู้อื่นรับผิดทางอาญา
ตำรวจนิสัยดีๆ เราก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย เดี๋ยวกลับมาต่อในประเด็นที่ 3


ประเด็นที่ 3 ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน ทำสำนวนหลอกอัยการ ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน มีความผิด อาญา มาตรา 264 ข้อหาปลอมแปลงเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่น , อาญา มาตรา 161 ข้อหาปลอมแปลงเอกสาร โดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น , อาญา มาตรา 162 ข้อหาเจ้าพนักงาน กระทำการ (1) รับรองเป็นหลักฐานว่า ตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือว่าการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ (2) รับรองเป็นหลักฐานว่า ได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้ง (4) รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้น มุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ , อาญา มาตรา 179 ข้อหาทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหลงเชื่อว่ามีความผิดอาญาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเชื่อว่าความผิดอาญาที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่เป็นความจริง , อาญา มาตรา 180 ข้อหานำสืบอันเป็นเท็จ พยานหลักฐานอันเป็นเท็จเป็นข้อสำคัญในคดี
ประเด็นที่ 4 เมื่อถูกตำรวจหรือเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด ไปดู
“ พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้ ”
“ พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ”
“ กฎหมายแพ่ง มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ”
ตำรวจคนนั้น ต้องปล่อยตัวคุณแม๊กซ์ อัจฉริยะ เป็นอิสระ ตำรวจคนนั้น ต้องออกมาขอโทษ หรือชดใช้ความเสียหายให้กับคุณแม๊กซ์ อัจฉริยะ ในฐานะผู้ถูกละเมิดด้วย