หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562

#ปวิแขวงมาตรา7 #นาฬิกาเริ่มเดินนับถอยหลังเมื่อไร

สมชาย ไพศาลสัมฤทธิ์
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงหมายถึง คดีที่อัตราโทษจำ คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นไปตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาของศาลแขวง มาตรา 7
นาฬิกาเริ่มเดินนับถอยหลังเมื่อไร ถ้าพิจารณาจากมาตรา 7 แล้วการเริ่มนับถอยหลัง 48 ชม. จะเริ่มเดินได้ 2 กรณี
กรณีที่ 1 เป็นไปตามมาตรา 7 วรรคต้น กล่าวคือ "นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ"
คำว่า "ถูกจับ" นั้นมันจะถูกเชื่อมโยงกับการจับตาม ปวิอ.ม 83 ซึ่ง "การจับ" ตาม ปวิอ ม 83 นั้นจะมีการจับอยู่ 2 วิธี คือ
1.1 การจับโดยเจ้าพนักงาน หมายถึง เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
1.2 การจับโดยราษฎร หมายประชาชนทั่วๆไป ที่ไม่มีอำนาจของรัฐติดตัวอยู่ แต่สามารถจับผู้กระทำผิดได้ในเหตุซึ่งหน้าตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฉนั้นการจับโดยเจ้าพนักงานนั้นเมื่อมี "การจับ" ผู้กระทำผิดแล้วจะต้องมีการแจ้งว่า เขาต้องถูกจับให้ไปพบ พงส แห่งท้องที่ที่ถูกจับ พร้อมกับมีการแจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งสิทธิต่างๆแก่ผู้ถูกจับให้ทราบสิทธิของตน
ส่วนการจับโดยราษฎรนั้น เป็นการปฎิบัติในฐานะพลเมืองดีเท่านั้น และไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามปวิอ จึ่งไม่มีหน้าที่จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาหรือสิทธิใดๆ ให้กับผู้ถูกจับได้ทราบ เพียงแต่จับแล้วต้องนำส่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเท่านั้น ก็เป็นอันเสร็จหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีแล้ว
เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับ ปวิแขวง มาตรา 7 วรรคแรก "นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ" จึงหมายถึงการจับโดย "เจ้าพนักงาน" ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ที่มีการจับและมีการแจ้งสิทธิต่างๆโดยชอบตาม ปวิอ ม 83 วรรคแรกและวรรคสองแล้ว ฉนั้นนาฬิกาจับเวลา 48 ชม.ก็เริ่มนับถอยหลังแล้ว
กรณีที่ 2
มาตรา 7 วรรคสอง "ในกรณีที่ไม่มีการจับ" หมายถึง กรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลย มีการเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกหรือหมายจับ หรือมีการจับโดยราษฎร ตาม ปวิอ ม 83 ที่ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาหรือแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับ เมื่อมาปรากฎตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนก็ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตาม ปวิอ ม 134 วรรคแรก
ปวิอ ม 134 "เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด #แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ"
เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องถูกจับแล้ว นาฬิกาจับเวลา 48 ชม.ก็เริ่มนับถอยหลัง
การนับเวลาดังกล่าวนั้นไม่ให้นับเวลาการนำผู้ถูกจับ จากสถานที่เกิดเหตุมายังสถานนีตำรวจ หรือจากพนักงานสอบสวนไปพบอัยการหรือไปศาล หมายถึงให้ตัดระยะเวลาในการเดินทางออกไม่ให้คำนวนนับ
ประเด็นต่อมาใบสั่งตาม พรบ จราจร นั้นเป็นคดีลหุโทษที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงและวิธีพิจารณาของศาลแขวง นั้นการจับเริ่มขึ้นเมื่อใด เพราะ พรบ จราจร นั้นเป็นกฎหมายในลักษณะเฉพาะตัว มีการแจ้งข้อกล่าวหาเป็นหนังสือ โดยการออกใบสั่งแต่ยังไม่มีการจับ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาที่จะยอมรับสารภาพหรือปฎิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวนั้นกับพนักงานสอบสวน ตาม พรบ จราจร ม 145
ถ้าผู้ที่โดนใบสั่งยอมรับสารภาพ พงส ก็มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ คดีก็เป็นอันเลิกกันและยุติไป
แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่จ่ายค่าปรับหรือปฎิเสธข้อกล่าวหาต่อ พงส เท่ากับผู้ถูกกล่าวหาปฎิเสธสิทธิต่างๆที่จะมีต่อมาแก่ตนตาม พรบ จราจร อันได้แก่ การได้รับการแจ้งเตือนจากสารวัตรหรือการยืดเวลาของการดำเนินการจนไปสุดสายตาม พรบ จราจร ม 141/1 เป็นเหตุให้การดำเนินการต่างๆ ตาม พรบ จราจร นั้นสิ้นสุดลง พงส. นั้นก็ต้องมาเริ่มต้นกระบวนการตาม ปวิอ. นำผู้ที่ถูกกล่าวหาเข้าสู่การดำเนินการทางศาลต่อไป
เมื่อผู้ถูกกล่าวหามาปฎิเสธข้อกล่าวหาต่อหน้า พงส แล้ว พงส นั้นควรจะต้องแจ้งข้อหา ให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ทราบถึงข้อหานั้น ตาม ปวิอ ม 134 วรรคแรกตอนท้าย เพราะผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม ตาม ปวิอ ม 134 วรรคสาม จะเตะถ่วงเวลาออกไปเรื่อยๆ จนสิ้นอายุความไม่ได้ เพราะจะขัดกับเจตนารมย์ของการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาของศาลแขวง เพราะเจตนารมย์ต้องการให้มีการสอบสวนโดยเร็วและมีการฟ้องคดีที่รวดเร็ว
ฉนั้นถ้ามีการปฎิเสธข้อกล่าวหาตามใบสั่ง พรบ จราจร ต่อพนักงานสอบสวนโดยชอบแล้ว พงส.จะต้องแจ้งข้อหาให้กับผู้ถูกกล่าวหาและ นาฬิกาจับเวลา 48 ชม.ก็เริ่มนับถอยหลังครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น