หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

นี่กฎหมายมาตรา ๑ (๓) ได้วางหลักไว้ว่า

นี่กฎหมายมาตรา ๑ (๓) ได้วางหลักไว้ว่า
“ ที่สาธารณสถาน หมายความว่า สถานที่ใดๆที่ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ “
นั่นหมายความว่า ที่สาธารณสถานนั้น ใครก็เข้าไปได้ ภายใต้เงื่อนไขของสถานที่นั้น รวมทั้งเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้นการที่จะเข้าไปจึงไม่จำเป็นต้องมีหมาย แต่การที่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไป ไม่ใช่หมายความว่าจะมีความชอบธรรมที่จะค้นด้วย เพราะคำว่า “เข้าไป” กับคำว่า “ค้น” มันเป็นคนละความหมายกัน 
ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐาน โดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล….”
นั่นหมายความว่า การที่จะค้นที่รโหฐานนั้น ต้องมีหมายค้น ซึ่งการที่จะค้นได้นั้นก็ต้องมีการ “เข้าไป”ในที่รโหฐานนั้น และทำการ”ค้น” แม้ตำรวจจะอ้างว่าร้านเกมเป็นที่ซึ่งใครๆก็เข้าไปได้จึงถือเป็นที่สาธารณะสถานก็ตามซึ่งนั้นเป็นการเข้าใจที่ผิดเพราะแม้จะเป็นร้านบริการทางคอมพิวเตอร์แต่ถ้าทางร้านไม่ยินยอมให้บริการลูกค้าๆก็ไม่มีสิทธิใช้บริการหรือเข้ามาภายในร้านครับ 
ดังนั้น จึงเห็นว่าการเข้าไปในสาธารณสถานนั้นไม่จำเป็นต้องมีหมาย แต่การค้นที่สาธารณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ต้องมีหมายค้นจึงจะสามารถค้นได้ เพราะเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิของผู้อื่นโดยแท้ 
สรุปก็คือไม่มีหมายศาลอย่าให้ตำรวจค้นร้านนั้นเองครับ ขั้นตอนการออกหมายค้นนั้นพนักงานสอบสวนสามารถขอหมายค้นจากศาลได้อยู่แล้ว เพียงแต่อาศัยเวลาหน่อย(เขียนถึงตรงนี้ผมนึกถึงตอนตำรวจไปค้นร้านของเจ๊ ลีน่าจัง ที่อนุเสาวรีย์เลย ที่เจ๊แกปิดประตูร้านใส่หน้าตำรวจเลย)
เอ้าถ้าตำรวจไปขอหมายมาแล้วหรือเรายอมให้เขาค้นแล้ว(ถ้าไม่ยอมให้เขาค้นห้ามเซ็นเอกสารอนุญาตให้ค้นได้เด็ดขาดแม้จะเป็นภายหลังหรือขณะนั้นก็ตามเพราะนั้นเท่ากับความผิดตำรวจหายไปแล้วเรื่องของการค้นโดยไม่มีหมายค้น) การค้นนั้นเมื่อเจอของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิดของกลางย่อมโดยยึดไปโรงพักเป็นธรรมดา
หลังจากนี้ก็ไปว่ากันต่อในศาลครับในส่วนของต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรมเรามีสิทธิ์เพียงเท่านี้แหละครับ แต่กลางน้ำจะเป็นอย่างไร ปลายน้ำจะดีแค่ไหน ต้องไปตามต่ออีกที อิ อิ
เรื่องราวนี้ก็เป็นอุทาหรณ์ได้เป็นอย่างดี สำหรับเจ้าหน้าที่ที่จะมาตรวจสอบลิขสิทธิ์ เพราะถ้ามากันแบบนี้ คุณก็จะถูกมองว่าเป็น แก๊งค์ ที่ทำผิดกฎหมาย แล้วก็ต้องหงายเงิบแบบคนกลุ่มนี้
ที่มา http://www.johjae.com/highlight-details.php?item=1996

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น