หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2565

การตรวจหาสารเสพติดในร่างกายบุคคล

 

การตรวจหาสารเสพติดในร่างกายบุคคลนั้นจะต้องตรวจ โดยใช้กฎหมายแม่บทอันเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้มีกฎหมายลูก อันได้แก่
๑. พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ มาตรา ๑๑/๒ ววรคสอง อนุญาตให้คณะกรรมการ ปปส. สามารถไปออกประกาศ กำหนดวิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา
๒. ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๑๕ (๓) วรรคสองและวรรคสาม อนุญาตให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหาสารเสพติดในร่างกาบบุคคลอื่นได้
ซึ่งทั้งประกาศคณะกรรมการ ปปส. และกฎกระทรวงยุติ อันเป็นกฎหมายแม่บทได้กำหนดการตรวจหาสารเสพติดไว้ว่า
"ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติดในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะ"
ไม่ใช่ "เหตุอันควรสงสัย" ซึ่งเหตุอันควรสงสัย กับ เหตุอันควรเชื่อ นั้นน้ำหนักในการชั่งพยานหลักฐานมีความแตกต่างกันพอสมควร....
.
ต่อมาเมื่อ มีการตรวจเบื้องต้นแล้ว พบว่าฉี่ม่วง ถ้าผู้ถูกตรวจสมัครใจเข้ารับการบำบัด ก็ให้ส่งตัวไปยังสถานพยาบาลหรือศูนย์คัดกรองยาเสพติด โดยไม่ต้องส่งตัวอย่างฉี่ไปยังสถานตรวจพิสูจน์.....
.
แต่ถ้าผู้ถูกตรวจพบว่าฉี่ม่วง ปฎิเสธว่าไม่ได้เสพ หรือปฎิเสธไม่รับการบำบัด จะต้องจดชื่อที่อยู่พร้อมเก็บรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆส่งพนักงานสอบสวน ส่วนตัวผู้ต้องสงสัยให้ปล่อยตัวไปก่อนจนกว่าผลตรวจยืนยันจากศูนย์วิทย์จะออกมาว่า "มีสารเสพติดเกินปริมาณกว่าที่กฎหมายกำหนด" จึงให้ออกหมายเรียกตัวให้มีรับทราบข้อกล่าวหาต่อไป จะดำเนินการควบคุมตัวก่อนที่ผลตรวจจากศูนย์วิทย์จะออกมิได้....
.
นี้คือหลักเกณฑ์การตรวจทั้งจาก คณะกรรมการ ปปส. ตาม วิเสพติด ม ๑๑/๒วรรคสอง และกฎกระทรวงยุติธรรม ตาม ปเสพติด ม ๑๑๕ วรรคสองและวรรคสาม ที่สอดคล้องต้องกัน

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำพิพากษาศาลฎีกา เลขที่ 8619/2552

 “ คำพิพากษาศาลฎีกา เลขที่ 8619/2552 จำเลยอ้างว่า “ จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาของจำเลย ให้ทำหน้าที่สายตรวจตำบลเขตตรวจที่ 1 และมอบหมายหน้าที่ในการเบิกอาวุธปืน ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิที่จะพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในขณะปฏิบัติหน้าที่ และการที่จำเลยแวะรับประทานอาหารที่ร้านอาหารเกิดเหตุ ก็เป็นเหตุต่อเนื่องจากปฏิบัติตามหน้าที่นั้น ” ศาลฎีกาเห็นว่า แม้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่จำเลยพาติดตัวไป จำเลยจะเบิกมาถูกต้องตามระเบียบของทางราชการก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีเหตุอันสมควรที่จะพกพาอาวุธปืนติดตัวเข้าไปในร้านอาหารที่เกิดเหตุ ซึ่งไม่ได้อยู่ในระหว่างเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งนอกจากนี้ยังอยู่นอกท้องที่ที่จำเลยรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว และไม่ได้อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ”

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565

#นั่งแค็บได้ #ไม่คาดเข็มขัด #ไม่ผิดกฎหมาย

 

รถกระบะแค็บ ไม่ใช่รถยนต์นั้งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ตามกฎหมาย
เมื่อไม่ใช่รถยนต์ส่วนบุคคล #ส่วนที่เป็นแค็บ จึง #ไม่ใช่เบาะนั่งสำหรับคน
กฎหมายจึงไม่ได้บังคับให้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในส่วนที่เป็นแค็บ เพราะ #หากนำไปติดตั้งเข็มขัดนิรภัย_ในแค็บ จะเป็นการ #ดัดแปลงสภาพรถยนต์ให้ผิดไปจากการจดทะเบียน ตามมาตรา 21
แต่ มาตรา 21 บัญญัติว่า...
มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ #เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1)......
(2)......
(3).......
(3/1)การใช้ #รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ําหนักรถไม่เกินสองพันสองร้อยกิโลกรัมเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธืบดีกำหนด
... 🚨 จากมาตรา 21 (3/1) กฎหมายให้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ใช้แทนรถยนต์สาวนบุคคลได้
หมายความว่า สามารถนั่งแค็บแทนรถกระบะได้ เสมือนนั่งเบาะหลังรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
#แม้แค็บรถกระบะ จะนั่งได้ #แต่ก็ไม่ถือว่า เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล #ที่จะต้องติดตั้ง_เข็มขัดนิรภัย เพราะหาก ติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ก็เป็นการดัดแปลงสภาพ ที่แตกต่างไปจากที่จดทะเบียนไว้ ตามมาตรา 21 นั้นเอง
✌ เพราะว่า กระบะ ส่วนแค็บไม่สามารถติดตั้งเข็มขัดฯได้
หากติดตั้งจะเป็นความผิดตามกฎหมายฐาน ดัดแปลงสภาพให้แตกต่างไปจากที่จดทะเบียนไว้ ตามมาตรา 21

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ไม่มีคำว่าประมาทร่วมในกฎหมาย

 

หนุ่มไรเดอร์งง ถูกโดนชน กลับถูกแจ้งข้อหาประมาทร่วม..?
#การประมาทร่วม ไม่มีในบทบัญญัติทางกฎหมายในคดีอาญา #ไม่มีคำว่าประมาทร่วมในกฎหมาย” มีแต่ต่างฝ่ายต่างประมาท เพราะความผิดฐานประมาท
#ไม่อาจจะกระทำความผิดร่วมกันได้ แต่ในเหตุการณ์เดียวกัน อาจจะมีคนที่ประมาทหลายคนได้ แต่ก็ไม่ถือว่าร่วมกันประมาท คงถือว่าต่างฝ่ายต่างประมาทกันไป ซึ่งต้องวินิจฉัยให้ชัดว่า " ฝ่ายใดประมาท หรือ ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” สิ่งที่ถูกต้องก็คือต้องดูว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายประมาทมากกว่ากัน และต้องรับผิดชอบมากน้อยตามความประมาท ที่ทำให้เกิดความเสียหาย
การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร หรือทำผิดกฎจราจร กับ ประมาทนั้น #เป็นคนละส่วนกัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร หรือทำผิดกฎจราจรนั้น ยังไม่อาจจะสรุปได้ว่าผู้นั้น เป็นผู้ที่ประมาท เช่นลำพังแต่การที่ขับรถยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ #แม้จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายจราจรก็ตาม แต่จะถือว่าเขาประมาทไม่ได้
(เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๒๐๖/๒๕๕๐)
#ตัวอย่างเช่น นายแดง ขี่รถจักรยานยนต์ คร่อมเลน แต่ก็ขี่ด้วยความระมัดระวัง #แต่ปรากฏว่า นายฟ้า ขี่รถจักรยานยนต์มาจากทางด้านหลังด้วยความเร็ว แล้วชนท้ายรถจักรยานยนต์ของนายแดง กรณีนี้จะเห็นว่า แม้นายแดง จะทำผิดกฎจราจร #แต่การชนกันก็ไม่ได้เกิดจากการทำผิดกฎจราจรของนายแดง แต่เกิดจากการกระทำของนายฟ้า ที่ขี่รถจักรยานยนต์มาด้วยความเร็ว และไม่ระวังรถคันที่อยู่ข้างหน้า จนชนรถของนายแดง ในกรณีเช่นนี้ ต้องถือว่า #นายฟ้าเป็นฝ่ายประมาทแต่เพียงฝ่ายเดียว นายแดงไม่ได้เป็นผู้ประมาทด้วย
(เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๓๘๖/๒๕๔๔ วินิจฉัยว่า)
เครดิต:คดีโลกคดีธรรม

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

รักสาว สกล

 

Dอยากฝากหัวใจ  ดวงนี้เอาไว้  .....  สกลนคร      พบน้องบังอร  ถูกใจ คนนี้   .....  โดยบังเอิญ   

หนีห่าวจ่าวซาน   อาหาร อร่อยเหลือเกิน      กินอย่างเพลิดเพลิน เพราะในร้านนี้...  มีเธอ

 

พี่แอบติดตาม เพราะใจอยากขอ   ...ขอเธอเป็นแฟน   อยากเดินควงแขน อยากไปเป็นเขย ....สกลนคร

 หลวงพ่อพระองค์แสน   ขอช่วย  ส่งเสริมให้พร   เดินทางแรมรอน  เพราะหลงรักสาว  ..สกลนคร

 

วัดถ้ำผาเด่น มองเห็น   เหมือนใบหน้าเธอ  โค้งคิ้วเลิศเลอ  ดั่งเส้นทางไปเขาภูพาน

อยากชวนน้องเจ้า ไปกินอาหารกลางวัน      ที่ฟาร์มฮัก  กัน(กระแทกกลองเบาๆ)...

ท่องแดนสวรรค์  กราบขอพร... พญาเต่างอย

 

พี่ขอเดินตาม เพราะว่าอยากรู้ ..  เธออยู่ที่ไหน     ลูกสาวบ้านใคร จะส่งกำนัน ..ให้มาสู่ขอ

 พระธาตุเชิงชุม  ถวาย  ข้าวเกรียบปากหม้อ

พญานากเผือก   ลูกกราบขอ  .....ขอเธอคนนี้เป็นแฟน

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ผู้พิพากษา” กางข้อกฎหมายไม่จ่าย “ค่าปรับใบสั่งจราจร” เจอ “ออกหมายจับ” ??

 

📌“ผู้พิพากษา” กางข้อกฎหมายไม่จ่าย “ค่าปรับใบสั่งจราจร” เจอ “ออกหมายจับ” ??
🖋นายสันติ ผิวทองคำ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง เผยแพร่บทความในประเด็นนี้โดยระบุว่าคดีความผิดตามใบสั่ง กฎหมายถือเป็นคดีความผิดลหุโทษ มีอายุความเพียง 1 ปี ส่วนการดำเนินคดี ในกรณีที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรตามภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิด หรือ กล้อง CCTV หรือไม่ ตำรวจต้องให้โอกาสเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองโต้แย้งตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ถึง มาตรา 141/1 ก่อน จะขออนุมัติศาลออกหมายจับทันทีนั้นไม่ได้
❗️“เนื่องจากคดีประเภทนี้เป็นความผิดเล็กน้อย และหากเป็นกรณีที่ตำรวจพบการกระทำความผิดผ่าน กล้องวงจรปิด ซึ่งไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า เบื้องต้นตำรวจย่อมมีข้อมูลเพียงอย่างเดียวคือ หมายเลขทะเบียนรถ ที่กระทำผิดกฎหมายจราจร กรณีไม่แน่ชัดว่าผู้มีรายชื่อถือกรรมสิทธิ์รถหรือผู้มีรายชื่อเป็นผู้ครอบครองรถนั้นเป็นผู้ขับขี่ฝ่าฝืนหรือกระทำผิด พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ในข้อหาที่กล้องวงจรปิดหรือ กล้อง CCTV บันทึกไว้ได้หรือไม่ กฎหมายจราจรจึงกำหนด ขั้นตอนให้โอกาสแก่บุคคลผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของรถหรือมีรายชื่อเป็นผู้ครอบครองได้โต้แย้งข้อหาที่กล้องบันทึกไว้ก่อนที่จะส่งเรื่องไปให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี ตำรวจยังไม่สามารถกล่าวโทษหรือกล่าวหาอันนำไปสู่การออกหมายเรียกหรือออกหมายจับผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของรถหรือผู้มีรายชื่อเป็นผู้ครอบครอง ได้ทันทีแต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ถึง มาตรา 141/1”❗️
🖋กรณีต้องการขอหมายจับต้องเข้า “กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน” และพนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานหลักฐาน และออกหมายเรียกเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองให้มาพบอย่างน้อย 2 ครั้ง
🖋ซึ่งการส่งหมายเรียกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ป.วิ.อาญา และต้องมั่นใจว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้รับหมายเรียกแล้ว “จงใจไม่ยอมไปพบพนักงานสอบสวน” ตามที่กำหนด และพยานหลักฐานต้องเพียงพอเชื่อได้ว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองเป็นผู้ขับขี่รถในวันเกิดเหตุ และจงใจไม่ยอมไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกถึง 2 ครั้ง นอกจากนี้คดีต้องไม่ขาดอายุความ “ศาลจึงจะพิจารณาอนุมัติหมายจับ” เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองตามที่ร้องขอ
❗️“กรณีหาอาจอนุมัติหมายจับตามใจเจ้าพนักงานตำรวจไม่ เพราะศาลเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาแก่สังคม”❗️
🖋ถึงแม้ศาลอนุมัติหมายจับให้แต่ตำรวจก็ต้องติดตามตัวเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองมาแจ้งข้อหาให้ได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ และแม้จะพบตัวเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถตามหมายจับ ก็ไม่อาจควบคุมตัวหรือควบคุมขังเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้เพราะเป็นเพียงคดีความผิดเล็กน้อย หรือ ลหุโทษ คงได้แต่ เพียงสอบถามชื่อนามสกุล และ แจ้งข้อหาให้ทราบแล้วต้องปล่อยตัวไปเท่านั้น
🖋จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการขออนุมัติศาลออกหมายจับในคดีความผิดตามใบสั่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกฎหมายมองว่าเป็นเพียงคดีความผิดที่มีโทษเพียงเล็กน้อยและเป็นคดีลหุโทษ จึงกำหนดเงื่อนไขไว้ค่อนข้างเคร่งครัด
🖋นอกจากนี้แม้ศาลอนุมัติหมายจับแล้วในคดีความผิดลหุโทษหรือความผิดตามใบสั่งตำรวจจะต้องทำสำนวนสอบสวน และส่งเรื่องให้พนักงานอัยการ พิจารณา และต้องฟ้องเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองต่อศาลภายใน 1 ปี มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความ ก็ไม่สามารถดำเนินคดีกับเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้อีกเช่นกัน
🖋จากขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเพื่อควบคุมการใช้อำนาจของตำรวจ ประกอบกับการออกหมายจับหรือไม่เป็นดุลพินิจโดยแท้ของศาล ที่กฎหมายให้อำนาจศาลถ่วงดุลการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และพนักงานสอบสวนอีกส่วนหนึ่ง และระยะเวลาการดำเนินคดีที่สั้น ประกอบกับตำรวจหรือพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจควบคุมตัวผู้กระทำผิดในคดีลหุโทษหรือคดีความผิดตามใบสั่ง
❗️ผู้ใช้รถใช้ถนนหรือเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ จึงไม่ควรกังวลกับข่าวที่แพร่ออกทางสื่อสารมวลชนดังกล่าวมากจนเกินไป เพราะการอนุมัติหมายจับเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถในคดีความผิดตามใบสั่ง เป็นดุลพินิจของศาล หาใช่เป็นดุลพินิจของตำรวจไม่❗️
ที่มา : ขั้นตอนการขออนุมัติหมายจับในคดีความผิดตามใบสั่ง By ท่านติ